วันอาทิตย์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

อินเทอร์เน็ตกับการศึกษา

อินเทอร์เน็ตกับการศึกษา
อินเทอร์เน็ตสามารถให้ผู้เรียนติดต่อสื่อสารกับผู้คนทั่วโลกได้อย่างรวดเร็ว และ
สามารถสืบค้นหรือเผยแพร่ข้อมูลสารสนเทศจากทั่วโลก จึงทำให้เกิดการเรียนรู้ตามอัธยาศัยการประยุกต์ใช้อินเทอร์เน็ตกับกิจกรรมตามหลักสูตรเดิมที่มีอยู่ ทำให้ผู้เรียนเกิด
ทักษะในด้านการคิดอย่างมีระบบ (High - Order Thinking Skills) การคิดเชิงวิเคราะห์ (Critical Thinking) การวิเคราะห์สืบค้น (Inquiry - Based Analytical Skill) การวิเคราะห์ข้อมูล การแก้ปัญหา และการคิดอย่างอิสระเป็นการสนับสนุนกระบวนการสหสาขาวิชาการ (Interdisciplinary) คือ ในการนำ
เครือข่ายมาใช้เชื่อมโยงกับกิจกรรมการเรียนการสอนนั้น นักการศึกษาสามารถที่จะบูรณาการการเรียนการสอนในวิชาต่างๆ เช่นคณิตศาสตร์ ภูมิศาสตร์ สังคม ภาษา
วิทยาศาสตร์ ฯลฯ เข้าด้วยกันอินเทอร์เน็ตเมื่อนำมาใช้ในการพัฒนาการศึกษาก็จะทำให้เกิดประโยชน์และสร้าง
ความเท่าเทียมกันในด้านการศึกษาให้มากยิ่งขึ้น
รูปแบบของอินเทอร์เน็ตทางการศึกษา
รูปแบบของอินเทอร์เน็ตทางการศึกษาสามารถแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ ดังนี้การศึกษาค้นคว้า อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายที่รวมเครือข่ายงานต่าง ๆ ไว้มากมาย ทำ
ให้ผู้เรียนและผู้สอนสามารถสืบค้นข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ได้ทั่วโลกการติดต่อสื่อสาร ผู้เรียนและผู้สอนสามารถใช้อินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือในการติดต่อ
สื่อสารได้ไม่ว่าจะเป็นการรับส่ง E-mail , Chat , Telnet , Usenet เป็นต้น ซึ่งส่วนใหญ่ผู้สอนจะใช้อินเทอร์เน็ตในการนำเสนอบทเรียน สั่งงาน ตอบคำถามข้อสงสัย
รับงาน ฯลฯ ส่วนผู้เรียนจะใช้อินเทอร์เน็ตในการเรียนรู้ ส่งงาน ทบทวนบทเรียนระหว่างผู้สอนแล้วยังสามารถติดต่อสื่อสารกับผู้เรียนอื่น ๆ เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
ในหัวข้อต่าง ๆ ได้อีกด้วยการเรียนการสอนทางอินเทอร์เน็ต การใช้อินเทอร์เน็ตในการเรียนการสอนนั้น
สามารถทำได้ในรูปแบบการเรียนการสอนผ่านเว็บ (Web Based Instruction : WBI) ซึ่งเป็นการเรียนการสอนที่ประยุกต์คุณลักษณะของอินเทอร์เน็ต โดยนำ
ทรัพยากรที่มีอยู่ใน WWW มาเป็นสื่อกลางเพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้ในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นแหล่งข้อมูลอ้างอิง เอกสารประกอบการเรียน บทเรียน
สำเร็จรูป หรือแม้กระทั่งหลักสูตรวิชา เนื่องจาก Web เป็นบริการบนอินเทอร์เน็ตที่มีแหล่งข้อมูลอยู่มากมายและหลายรูปแบบ ทั้งตัวอักษร ภาพนิ่ง การเคลื่อนไหวหรือ
เสียง โดยอาศัยคุณลักษณะของการเชื่อมโยงหลายมิติ (Hyperlink) ทั้งในรูปแบบของ ข้อความหลายมิติ (Hypertext) หรือสื่อหลายมิติ (Hypermedia)เพื่อเชื่อม โยงแหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องไว้ด้วยกัน และเป็นการนำประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการค้นคว้าข้อมูลในการเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นการสนองตอบแนวคิดในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นหลัก
หลักการใช้อินเทอร์เน็ต
หลักการใช้อินเทอร์เน็ต โดยใช้หลัก SMART ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
(S) Safety ความปลอดภัย
(M) Manners ความมีมารยาท
(A) Advertising and Privacy Protection การรักษาสิทธิส่วนบุคคลในการเลือกรับสื่อโฆษณา
(R) Research ความสามารถในการค้นคว้าข้อมูลที่เป็นประโยชน์
(T) Technology ความเข้าใจเทคโนโลยีของอินเทอร์เน็ตสิ่งที่จำเป็นต้องรู้บนอินเทอร์เน็ตProtocol

Protocol คือ กฎระเบียบหรือภาษากลางของคอมพิวเตอร์ เพื่อ ให้ทุกเครื่องติดต่อด้วยมาตรฐานเดียวกัน
2. TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol)TCP/IP เป็นโปรโตคอลมาตรฐานที่ใช้ติดต่อสื่อสารในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
3. ที่อยู่บนอินเทอร์เน็ต (Internet Address)ที่อยู่บนอินเทอร์เน็ต หรืออีเมล์แอดเดรส จะประกอบด้วยชื่อของผู้ใช้คอมพิวเตอร์ (user) และชื่อของอินเทอร์เน็ต (Internet Name) โดยจะมีรูปแบบคือ user@
Internet Name เช่น Noomuan@nakornping.cmri.ac.th จะหมายถึงผู้ใช้ชื่อ Noomuan เป็นสมาชิกของเครื่องที่ศูนย์คอมพิวเตอร์ที่มีชื่อเป็น nakornping.cmri.ac.th
4. หมายเลขอินเทอร์เน็ต (IP Address)
หมายเลขอินเทอร์เน็ต จะเป็นรหัสไม่ซ้ำกัน ประกอบด้วยตัวเลข 4 ชุด ที่คั่นด้วย เครื่องหมายจุด (.) เช่น 205.151.224.10 จะเป็น IP Adress ของ cmri.ac.th ( สถาบันราชภัฏเชียงใหม่) แต่ละชุดจะไม่เกิน 255หน่วยงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับ IP Address ทั่วโลกโดยตรง ก็คือหน่วยงาน InterNIC (Internet Network Information Center)
5. ชื่ออินเทอร์เน็ต (DNS:Domain Name Server)
ชื่ออินเทอร์เน็ต จะเป็นชื่อที่อ้างถึงคอมพิวเตอร์ที่ต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ตได้ง่ายขึ้น (เนื่องจาก IP Address เป็นตัวเลข 4 ชุด ที่ยากในการจดจำ) DNSนั้นจะประกอบ ไปด้วยชื่อคอมพิวเตอร์ ชื่อเครือข่ายท้องถิ่น ชื่อสับโดเมน และชื่อโดเมน เช่น mail.ksc.net.th, jupiter.ksc.net.th (mail , jupiter คือ ชื่อคอมพิวเตอร์ , ksc คือ
ชื่อเครือข่ายท้องถิ่น , net คือชื่อสับโดเมน , th คือชื่อโดเมน) WWW.cmri.ac.th (www คือชื่อเครื่องที่ให้บริการข้อมูลแบบ World Wide Web , cmri คือชื่อ
เครือข่ายท้องถิ่น , ac คือชื่อสับโดเมน , th คือชื่อโดเมน)
192.133.10.1
chulkn.chulu.ac.th
ภาพที่ 10.1 DNS ที่สอดคล้องกับ IP Address ของสถาบันวิทยบริการ ฯจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ตารางที่ 10.1 ตัวอย่างชื่อโดเมนในประเทศสหรัฐอเมริกา
ชื่อโดเมน
ประเภทขององค์กรในสหรัฐอเมริกา

com : Commercial Organizations
องค์กรเอกชน

gov : Government Organizations
องค์กรรัฐบาล

mil : Military Organizations
องค์กรทหาร

net : Network Organizations
องค์กรบริการเครือข่าย

org:Non–Commercial Organizations
องค์กรอื่น ๆ / องค์กรที่ไม่แสวงหากำไร

edu : Educations Organizations
สถาบันการศึกษา
ตารางที่ 10.2 ตัวอย่างชื่อโดเมนซึ่งเป็นชื่อย่อของประเทศต่าง ๆ
ชื่อโดเมน
ชื่อประเทศ

au : Australia
ออสเตรเลีย

fr : France
ฝรั่งเศส

jp : Japan
ญี่ปุ่น

th : Thailand
ไทย

Uk : United Kingdom
อังกฤษ
ตารางที่ 10.3 ตัวอย่างชื่อสับโดเมนซึ่งเป็นส่วนขยายของชื่อโดเมน
ชื่อสับโดเมน
คำอธิบาย

co : Commercial Organizations
สำหรับองค์กรเอกชน

go : Government Organizations
สำหรับองค์กรรัฐบาล

Net : Network Organizations
สำหรับองค์กรบริการเครือข่าย

or : Non–Commercial Organizations
สำหรับองค์กรอื่นๆ/องค์กรที่ไม่แสวงหากำไร

ac : Academical Organizations
สำหรับสถาบันการศึกษา
การเชื่อมต่อเข้าระบบอินเทอร์เน็ต
เชื่อมต่อโดยตรง
เชื่อมต่อโดยตรง จะเป็นการเชื่อมต่อโดยตรงกับเครือข่ายหลัก (Backbone) โดยผ่านอุปกรณ์เกตเวย์ (Gateway) หรือเราเตอร์ (Router) จะต่อโดยตรงกับ
Internet การเชื่อมต่อโดยตรงนั้นเป็นการเชื่อมต่อแบบตลอดเวลา เสียค่าใช้จ่ายในการติดตั้งสูง แต่การรับส่งข้อมูลนั้นรวดเร็วและมีความน่าเชื่อถือ
การเชื่อมต่อผ่านทางผู้ให้บริการ
การเชื่อมต่อผ่านทางผู้ให้บริการ ผู้ให้บริการการเชื่อมต่อเรียกว่า ISP (Internet Service Provider) แบ่งลักษณะการเชื่อมต่อออกเป็น 2 ประเภท
2.1 การเชื่อมต่อแบบองค์กร องค์กรที่มีการจัดระบบเครือข่ายอยู่แล้วเมื่อนำเครื่องเซิร์ฟเวอร์มาเชื่อมต่อกับ ISP เครื่องลูกในระบบก็สามารถเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตได้
2.2 การเชื่อมต่อส่วนบุคคล โดยการเชื่อมต่อผ่านทางสายโทรศัพท์ผ่านอุปกรณ์แปลงสัญญาณที่เรียกว่า โมเด็ม (Modulator/DEModulator : Modem) ซึ่งมีค่า
ใช้จ่ายไม่สูง โดยมักเรียกการเชื่อมต่อแบบนี้ว่า Dial - Up
อุปกรณ์ในการเชื่อมต่อเข้าสู่อินเทอร์เน็ต
1. คอมพิวเตอร์
2. สายโทรศัพท์ จะต้องมีคู่สายโทรศัพท์เป็นหมายเลขส่วนตัว
3. โมเด็ม (Modem) เป็นอุปกรณ์ที่เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ผ่านสายโทรศัพท์ เพื่อการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์กับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยปกติสัญญาณสาย
โทรศัพท์เป็นแบบอนาล็อก โมเด็มมีหน้าที่แปลงจากสัญญาณอนาล็อกเป็นสัญญาณดิจิตอล
4. สมาชิกอินเทอร์เน็ต จะต้องสมัครสมาชิกกับศูนย์บริการอินเทอร์เน็ต เมื่อสมัครก็จะได้ชื่อล็อกอิน (Use Name) และรหัสผ่าน (Password) สำหรับใช้งานอิน
เทอร์เน็ต
5. ซอฟแวร์และโปรแกรมประยุกต์ เช่น โปรแกรมบราวเซอร์ Internet Explorer , Netcape

การสมัครเข้าเป็นสมาชิกของอินเทอร์เน็ต
ก่อนที่จะเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตได้นั้นจะต้องทำการสมัครเป็นสมาชิกของอินเทอร์เน็ตก่อน ซึ่งมีรูปแบบของการสมัครเป็นสมาชิก ดังนี้
รูปแบบที่เป็น Packet สำเร็จรูป ในปัจจุบันเป็นที่นิยมกันมากซึ่งผู้ใช้สามารถเข้าสู่
ระบบอินเทอร์เน็ตได้ง่ายขึ้น ซึ่งมีขายกันทั่ว ๆ ไป มีหลากหลายรูปแบบให้ได้เลือก ซึ่งมีราคาติดอยู่ข้างหน้าพร้อมกับระยะเวลาและจำนวนชั่วโมง ภายในจะมีแผ่นซีดีที่มี
โปรแกรม IE และโปรแกรมอื่น ๆ รวมอยู่พร้อมทั้งคู่มือการติดตั้งและรหัส Use Name และรหัส Password ที่เป็นกระดาษเหมือนกับซองกระดาษรหัส ATM บรรจุอยู่
รูปแบบการสมัครทางโทรศัพท์ เป็นการสมัครที่ผู้ใช้จะต้องโทรศัพท์ไปยังศูนย์บริการ
อินเทอร์เน็ต เมื่อติดต่อได้แล้วทางศูนย์บริการอินเทอร์เน็ตจะโอนไปให้ฝ่ายขายซึ่งผู้ใช้ต้องสอบถามราคา ระยะเวลา และจำนวนชั่วโมง เมื่อผู้ใช้เลือกชุดเวลาที่ต้องการ
ได้แล้วทางศูนย์บริการอินเทอร์เน็ตจะบอกหมายเลขบัญชีธนาคารเพื่อให้ผู้ใช้โอนเงินเข้าบัญชี แล้วผู้ใช้จึงนำใบนำฝากแฟกซ์ไปให้ทางศูนย์บริการอินเทอร์เน็ต จากนั้น
ทางศูนย์บริการอินเทอร์เน็ตจะแจ้ง Use Name และรหัส Password กลับมาให้ผู้ใช้
การสืบค้นข้อมูลจาก WWW
ส่วนมากจะใช้ Search Engine ในการสืบค้นข้อมูลจาก WWW Search Engine เป็นเครื่องมือในการค้นหาเว็บไซต์ ทำหน้าที่ในการให้บริการค้นหาข้อมูล โดย
เน้นเรื่องความสามารถในการค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต ทำให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตสะดวกมากขึ้นในการค้นหาข้อมูลในเรื่องราวต่างๆ โดยเว็บไซต์พวกนี้จะมีบริการอยู่
มากมายไม่ว่าจะเป็นของต่างประเทศหรือของไทย
วิธีใช้ Search Engine เริ่มจากหาเว็บไซต์และ Directory ที่มีเนื้อหาที่เราสนใจ จากนั้นก็
คลิกเข้าไปที่เว็บไซต์ที่ต้องการก็จะพบหน้าแรกที่เป็นช่องและเครื่องมือการสืบค้น ดังนี้
ค้นหา
จากนั้นก็ใส่ข้อมูลที่ต้องการลงในช่องค้นหา และกดปุ่ม Search ค้นหา และทางเว็บไซต์จะทำการค้นหาและรายงานผลการค้นหา แสดงชื่อเว็บไซต์ และ Directory ที่
เกี่ยวข้องให้ทราบ
Search Engine ที่นิยมกันมีมากมายเช่น www.google.com , www.sanook.com , www.hunsa.com , www.siamguru.com ,
www.hotsearch.dbg.co.th , www.thaifind.com , www.yumyai.com , www.thaiseek.com เป็นต้น
คำศัพท์บางคำที่เกี่ยวข้อง
Web Site เป็นเครื่องที่ใช้ในการจัดเก็บเว็บเพจ แต่ละองค์กรที่จะนำเสนอข้อมูลของตนในรูปของเว็บนี้ มักจะมีเว็บไซต์เป็นของตนเอง และมักใช้ชื่อองค์กรเป็นชื่อเว็บ
ไซต์ เพื่อให้ผู้ที่สนใจสามารถจดจำได้ง่าย
Home Page เว็บเพจหน้าแรกสุดของข้อมูลแต่ละเรื่อง ซึ่งก็เปรียบเหมือนหน้าปกของหนังสือนั่นเอง ส่วนของโฮมเพจนี้ จะเป็นส่วนที่บอกให้ทราบว่าข้อมูลนี้เป็น
ข้อมูลเรื่องใด พร้อมกับมีสารบัญในการเลือกไปยังหัวข้อต่าง ๆ ในเรื่องนั้น ๆ ด้วย
Web Page เอกสารข้อมูลในแต่ละหน้าซึ่งถูกเขียนขึ้นด้วยภาษา HTML ข้อมูลที่แสดงในเว็บเพจแต่ละหน้านี้อาจประกอบด้วย ข้อความ ภาพ และเสียง จึงเป็นข้อมูล
แบบสื่อประสม (Multimedia)
Web Browser เว็บเพจแต่ละหน้าเป็นเอกสารข้อมูลที่ถูกเขียนขึ้นด้วยภาษา HTML ดังนั้น การที่เครื่องของเราจะอ่านและแสดงผลเว็บเพจเหล่านี้ได้ จะต้องมี
โปรแกรมพิเศษสำหรับทำหน้าที่นี้โดยเฉพาะ โปรแกรมเหล่านี้เรียกว่า เว็บเบราเซอร์ (Web Browser) ซึ่งมีอยู่มากมายในปัจจุบัน แต่ที่รู้จักกันดี ได้แก่ Internet
Explorer (IE) ของบริษัท Microsoft และ Netscape Navigator ของบริษัท Netscape ซึ่งทั้งสองโปรแกรมนี้มีขีดความสามารถที่ใกล้เคียงกันเป็นอย่างมาก
WWW (World Wide Web) เป็นแหล่งข้อมูลแบบใยแมงมุม
HTML (HyperText Makeup Language) ระบบสร้างไฟล์ข้อมูล WWW
HTTP (HyperText Transfer Protocol) ระบบตอบโต้สำหรับการโอนไฟล์ไฮเปอร์เท็กซ์ซึ่งเป็นข้อมูล WWW
Hypertext ไฮเปอร์เท็กซ์เป็นคำที่มีข้อความหรือไฟล์ซ่อนอยู่เบื้องหลัง ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นเมนูหรือคำอธิบายสิ่งที่เกี่ยวข้องกับคำนั้น ๆ
Login ล็อกอิน คือการเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของศูนย์คอมพิวเตอร์
Server เซิร์ฟเวอร์ คือศูนย์คอมพิวเตอร์หลักที่ให้บริการ
http://pontip.awardspace.com/main/main5.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น