วันจันทร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

โทษของอินเทอร์เน็ต

โทษของอินเทอร์เน็ต          - โทษของอินเทอร์เน็ต มีหลากหลายลักษณะ ทั้งที่เป็นแหล่งข้อมูลที่เสียหาย, ข้อมูลไม่ดี ไม่ถูกต้อง, แหล่งประกาศซื้อขาย
ของผิดกฏหมาย, ขายบริการทางเพศ ที่รวมและกระจายของไวรัสคอมพิวเตอร์ต่างๆ 
         - อินเทอร์เน็ตเป็นระบบอิสระ ไม่มีเจ้าของ ทำให้การควบคุมกระทำได้ยาก
         - มีข้อมูลที่มีผลเสียเผยแพร่อยู่ปริมาณมาก
         - ไม่มีระบบจัดการข้อมูลที่ดี ทำให้การค้นหากระทำได้ไม่ดีเท่าที่ควร
         - เติบโตเร็วเกินไป
         - ข้อมูลบางอย่างอาจไม่จริง ต้องดูให้ดีเสียก่อน อาจถูกหลอกลวง-กลั่นแกล้งจากเพื่อน
         - ถ้าเล่นอินเทอร์เน็ตมากเกินไปอาจเสียการเรียนได้
         - ข้อมูลบางอย่างก็ไม่เหมาะกับเด็กๆ
         - ขณะที่ใช้อินเทอร์เน็ต โทรศัพท์จะใช้งานไม่ได้ (นั่นจะเป็นเฉพาะการต่ออินเทอร์เน็ตแบบ Dial up แต่ในปัจจุบันอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงจะสามารถใช้งานโทรศัพท์ที่ต่ออินเทอร์เน็ตได้ด้วย)
         - เป็นสถานที่ที่ใช้ติดต่อสื่อสาร เพื่อก่อเหตุร้าย เช่น การวางระเบิด หรือล่อลวงผู้อื่นไปกระทำชำเรา
         - ทำให้เสียสุขภาพ เวลาที่ใช้อินเตอร์เนตเป็นเวลานานๆ โดยไม่ได้ขยับเคลื่อนไหว

โรคติดอินเทอร์เน็ต
         โรคติดอินเทอร์เน็ต (Webaholic) เป็นอาการทางจิตประเภทหนึ่ง ซึ่งนักจิตวิทยาชื่อ Kimberly S Young ได้ศึกษาและวิเคราะห์ไว้ว่า บุคคลใดที่มีอาการดังต่อไปนี้ อย่างน้อย 4 ประการ เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี แสดงว่าเป็นอาการติดอินเทอร์เน็ต

         - รู้สึกหมกมุ่นกับอินเทอร์เน็ต แม้ในเวลาที่ไม่ได้ต่อเข้าระบบอินเทอร์เน็ต
         - มีความต้องการใช้อินเทอร์เน็ตเป็นเวลานานขึ้นอยู่เรื่อยๆ ไม่สามารถควบคุมการใช้อินเทอร์เน็ตได้
         - รู้สึกหงุดหงิดเมื่อใช้อินเทอร์เน็ตน้อยลง หรือหยุดใช้
         - คิดว่าเมื่อใช้อินเทอร์เน็ตแล้ว ทำให้ตนเองรู้สึกดีขึ้น
         - ใช้อินเทอร์เน็ตในการหลีกเลี่ยงปัญหา
         - หลอกคนในครอบครัว หรือเพื่อน เรื่องการใช้อินเทอร์เน็ตของตนเอง
         - มีอาการผิดปกติเมื่อเลิกใช้อินเทอร์เน็ต เช่น หดหู่ กระวนกระวาย
        ซึ่งอาการดังกล่าว ถ้ามีมากกว่า 4 ประการในช่วง 1 ปี จะถือว่าเป็นอาการติดอินเทอร์เน็ต ซึ่งส่งผลเสียต่อระบบร่างกาย
ทั้งการกิน การขับถ่าย และกระทบต่อการเรียน สภาพสังคมของคนๆ นั้นต่อไป

อาชญากรรมคอมพิวเตอร์
         เทคโนโลยีที่ทันสมัย แม้จะช่วยอำนวยความสะดวกได้มากเพียงใดก็ตาม สิ่งที่ต้องยอมรับความจริงก็คือ เทคโนโลยีทุกอย่างมีจุดเด่นและข้อด้อยของตนทั้งสิ้น ทั้งที่มาจากตัวเทคโนโลยีเอง และมาจากปัญหาอื่นๆ เช่น บุคคลที่มีจุดประสงค์ร้าย
ในโลก cyberspace อาชญากรรมคอมพิวเตอร์เป็นปัญหาหลักที่นับว่ายิ่งมีความรุนแรง เพิ่มมากขึ้น ประมาณกันว่ามีถึง 230% ในช่วงปี 2002 และแหล่งที่เป็นจุดโจมตีมากที่สุดก็คือ อินเทอร์เน็ต นับว่ารุนแรงกว่าปัญหาไวรัสคอมพิวเตอร์เสียด้วยซ้ำ
หน่วยงานทุกหน่วยงานที่นำไอทีมาใช้งาน จึงต้องตระหนักในปัญหานี้เป็นอย่างยิ่ง จำเป็นต้องลงทุนด้านบุคลากรที่มีความ
เชี่ยวชาญด้านการรักษาความปลอดภัย ระบบซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ที่มีประสิทธิภาพ การวางแผน ติดตาม และประเมินผลที่ต้องกระทำอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง
         แต่ไม่ว่าจะมีการป้องกันดีเพียงใด ปัญหาการโจมตีระบบคอมพิวเตอร์ก็มีอยู่เรื่อยๆ ทั้งนี้ระบบการโจมตีที่พบบ่อยๆ ได้แก่
         - Hacker & Cracker อาชญากรที่ได้รับการยอมรับว่ามีผลกระทบต่อสังคมไอทีเป็นอย่างยิ่ง
         - บุคลากรในองค์กร หน่วยงานใดที่ไล่พนักงานออกจากงานอาจสร้างความไม่พึงพอใจให้กับพนักงานจนมาก่อปัญหาอาชญากรรมได้เช่นกัน
         - Buffer overflow เป็นรูปแบบการโจมตีที่ง่ายที่สุด แต่ทำอันตรายให้กับระบบได้มากที่สุด โดยอาชญากรจะอาศัย
ช่องโหว่ของระบบปฏิบัติการ และขีดจำกัดของทรัพยากรระบบมาใช้ในการจู่โจม การส่งคำสั่งให้เครื่องแม่ข่ายเป็นปริมาณมากๆ ในเวลาเดียวกัน ซึ่งส่งผลให้เครื่องไม่สามารถรันงานได้ตามปกติ หน่วยความจำไม่เพียงพอ จนกระทั่งเกิดการแฮงค์ของระบบ เช่นการสร้างฟอร์มรับส่งเมล์ที่ไม่ได้ป้องกัน ผู้ไม่ประสงค์อาจจะใช้ฟอร์มนั้นในการส่งข้อมูลกระหน่ำระบบได้
         - Backdoors นักพัฒนาเกือบทุกราย มักสร้างระบบ Backdoors เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงาน ซึ่งหากอาชญากรรู้เท่าทัน ก็สามารถใช้ประโยชน์จาก Backdoors นั้นได้เช่นกัน
         - CGI Script ภาษาคอมพิวเตอร์ที่นิยมมากในการพัฒนาเว็บเซอร์วิส มักเป็นช่องโหว่รุนแรงอีกทางหนึ่งได้เช่นกัน
         - Hidden HTML การสร้างฟอร์มด้วยภาษา HTML และสร้างฟิลด์เก็บรหัสแบบ Hidden ย่อมเป็นช่องทางที่อำนวย
ความสะดวกให้กับอาชญากรได้เป็นอย่างดี โดยการเปิดดูรหัสคำสั่ง (Source Code) ก็สามารถตรวจสอบและนำมา
ใช้งานได้ทันที
         - Failing to Update การประกาศจุดอ่อนของซอฟต์แวร์ เพื่อให้ผู้ใช้นำไปปรับปรุงเป็นทางหนึ่งที่อาชญากร นำไป
จู่โจมระบบที่ใช้ซอฟต์แวร์นั้นๆ ได้เช่นกัน เพราะกว่าที่เจ้าของเว็บไซต์ หรือระบบ จะทำการปรับปรุง (Updated) ซอตฟ์แวร์ที่มีช่องโหว่นั้น ก็สายเกินไปเสียแล้ว
         - Illegal Browsing ธุรกรรมทางอินเทอร์เน็ต ย่อมหนีไม่พ้นการส่งค่าผ่านทางบราวเซอร์ แม้กระทั่งรหัสผ่านต่างๆ ซึ่งบราวเซอร์บางรุ่น หรือรุ่นเก่าๆ ย่อมไม่มีความสามารถในการเข้ารหัส หรือป้องกันการเรียกดูข้อมูล นี่ก็เป็นอีกจุดอ่อนของธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ได้เช่นกัน
         - Malicious scripts จะมีการเขียนโปรแกรมไว้ในเว็บไซต์ แล้วผู้ใช้เรียกเว็บไซต์ดูบนเครื่องของตน อย่างมั่นใจ
หรือว่าไม่เจอปัญหาอะไร อาชญากรอาจจะเขียนโปรแกรมแฝงในเอกสารเว็บ เมื่อถูกเรียก โปรแกรมนั้นจะถูกดึงไปประมวลผลฝั่งไคลน์เอ็นต์ และทำงานตามที่กำหนดไว้อย่างง่ายดาย โดยที่ผู้ใช้จะไม่ทราบว่าตนเองเป็นผู้สั่งรันโปรแกรมนั้นเอง
         - Poison cookies ขนมหวานอิเล็กทรอนิกส์ ที่เก็บข้อมูลต่างๆ ตามแต่จะกำหนด จะถูกเรียกทำงานทันทีเมื่อมีการเรียกดูเว็บไซต์ที่บรรจุคุกกี้ชิ้นนี้ และไม่ยากอีกเช่นกันที่จะเขียนโปรแกรมแฝงอีกชิ้น ให้ส่งคุกกี้ที่บันทึกข้อมูลต่างๆ ของผู้ใช้ส่งกลับไปยังอาชญากร
         - ไวรัสคอมพิวเตอร์ ภัยร้ายสำหรับหน่วยงานที่ใช้ไอทีตั้งแต่เริ่มแรก และดำรงอยู่อย่างอมตะตลอดกาล ในปี 2001
พบว่าไวรัส Nimda ได้สร้างความเสียหายได้สูงสุด เป็นมูลค่าถึง 25,400 ล้าบบาท ในทั่วโลก ตามด้วย Code Red, Sircam, LoveBug, Melissa ตามลำดับที่ไม่หย่อนกว่ากัน
         ปัญหาของโลกไอที มีหลากหลายมาก การทำนายผลกระทบที่มีข้อมูลอ้างอิงอย่างพอเพียง การมีทีมงานที่มีประสิทธิภาพ การวางแผน ติดตาม ประเมินผลอย่างสม่ำเสมอ คงจะช่วยให้รอดพ้นปัญหานี้ได้บ้าง


http://blog.eduzones.com/banny/3743

วันอาทิตย์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

สื่ออินเตอร์เน็ต ในชีวิตประจำวัน

สื่ออินเตอร์เน็ต ในชีวิตประจำวัน 

          ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาทุกคนคงไม่สามารถปฏิเสธได้ว่า สื่ออินเตอร์เน็ตได้มีอิทธิพลมากขึ้นเรื่อยๆจนกลายเป็นสิ่งสำคัญส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของคนทั่วไป (คิดเป็น 10% ของกลุ่มคนอายุ 12 ปีขึ้นไปจากทั่วประเทศ ที่ใช้อินเตอร์เน็ตทุกวัน) และโดยเฉพาะคนกรุงเทพฯ (คิดเป็น 25% กลุ่มคนอายุ 12 ปีขึ้นไปในกรุงเทพฯ และ 20% ของคนต่างจังหวัดที่ใช้อินเตอร์เน็ตทุกวัน) ทั้งนี้อาจเป็นเพราะความหลากหลายในการใช้งานที่ทุกคนสามารถเลือกที่จะใช้ได้ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องงาน เรื่องเรียน เพื่อการบันเทิง หรือแม้แต่จะใช้ในการจับจ่ายซื้อของต่างๆ
          ดังนั้นถ้าเราเจาะดูในกลุ่มของผู้บริโภคในกรุงเทพฯแล้วจึงไม่น่าแปลกใจเมื่อพบว่า เทรนด์การบริโภคสื่ออินเตอร์เน็ตเมื่อเทียบกับสื่ออื่นๆแล้วนั้น สื่ออินเตอร์เน็ตมีการเติบโตในอัตราสูงที่สุด โดยเมื่อเทียบปี 2549 กับ ปี 2552 พบว่าอัตราเติบโตเพิ่มมากขึ้นถึง 15% ในขณะที่สื่อหลักอื่นๆส่วนใหญ่ต่างก็มีอัตราการเติบโตที่ลดลง และ บางรายถึงกับติดลบก็มี
          เมื่อแบ่งแยกดูคนกรุงเทพฯที่มีการบริโภคสื่ออินเตอร์เน็ตในช่วงอายุต่างๆ พบว่ามีการบริโภคเพิ่มขึ้นในแทบทุกกลุ่มช่วงอายุ หากแต่ว่ามีการเติบโตมากอย่างเห็นได้ชัดที่สุดในกลุ่มวัยรุ่น โดยเพิ่มขึ้นมาถึง 31% ซึ่งเหตุผลก็น่าจะมาจากหลายๆปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นขอบเขตการให้บริการที่ครอบคลุมมากขึ้นทั้งอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงหรืออินเตอร์เน็ตไร้สายในจุดบริการต่างๆ, การเพิ่มจำนวนของผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต รวมถึงเทรนด์ความนิยมของโทรศัพท์สมาร์ทโฟนที่สามารถเล่นอินเตอร์เน็ตได้ หรือแม้กระทั่งโปรโมชันและแพ็กเกจอินเตอร์เน็ตที่ราคาถูกและดึงดูดใจผู้ใช้
          เมื่อเราดูในรายละเอียดของกิจกรรมในการใช้สื่ออินเตอร์เน็ตนั้น ก็พบว่าในสิ่งที่กลุ่มวัยรุ่นนิยมทำทางสื่ออินเตอร์เน็ตมากที่สุด 10 อันดับนั้น 3 อันดับแรกยังคงเป็น การรับส่งอี-เมล์, การติดต่อสื่อสารอื่นๆ เช่น การแชท การส่งเอสเอ็มเอสผ่านทางอินเตอร์เน็ต และการใช้โทรศัพท์ผ่านทางอินเตอร์เน็ต และการเล่นเกมออนไลน์ ส่วนอีกเทรนด์ที่ค่อนข้างมาแรง คือ การหาข้อมูล รีวิว ของสินค้าและบริษัท ที่มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นมากที่สุด (+186%)
          ในขณะที่กลุ่มวัยทำงานตอนต้นนั้นมีการใช้งานอี-เมล์มากที่สุดเช่นกัน รองลงมาคือการอ่านข่าวสารและอัพเดตเรื่องราวต่างๆ (เช่น อัพเดตข่าวในและต่างประเทศ หรือการอ่านหนังสือพิมพ์และนิตยสารออนไลน์) และการพูดคุยติดต่อสื่อสารผ่านทางอินเตอร์เน็ตเป็นอันดับที่ 3 ซึ่งการพูดคุยติดต่อสื่อสารนั้นเป็นสิ่งที่คนในกลุ่มนี้เริ่มมีพฤติกรรมในการทำเพิ่มขึ้นมากที่สุด (+176%) รองลงมาคือการหาข้อมูลของสินค้าและบริษัท (+56%)
          ในขณะที่กลุ่มผู้ใหญ่ที่อายุ 40 ปีขึ้นไปนั้นมีการใช้งานอี-เมล์มากที่สุด ตามมาด้วยการอ่านข่าวสารอัพเดตเรื่องราวต่างๆ และการดาวน์โหลดโปรแกรมหรือไฟล์ต่างๆเป็นอันดับที่ 3 ซึ่งสิ่งที่น่าสนใจคือ การเพิ่มขึ้นของการพูดคุยติดต่อสื่อสารผ่านทางอินเตอร์เน็ต (+160%) ตามมาด้วยความนิยมในการดาวน์โหลดสิ่งต่างๆ (+55%)
          จะสังเกตได้ว่า ในทั้ง 3 กลุ่มช่วงอายุนั้นมีการใช้งานอินเตอร์เน็ตในบางด้านที่มากเหมือนๆกัน เช่น การรับส่งอี-เมล์ ในขณะที่การอ่านข่าวสารและอัพเดตเรื่องราวต่างๆนั้นกลับเป็นที่นิยมเฉพาะในกลุ่มผู้ใหญ่และคนทำงาน โดยมี 2 พฤติกรรมที่น่าสนใจคือ การพูดคุยติดต่อสื่อสารผ่านทางอินเตอร์เน็ต และ ที่มาแรงก็คือ การหาข้อมูลรีวิว ของสินค้าและบริษัท ซึ่งนี่จึงอาจเป็นอีกช่องทางที่นักการตลาดสามารถเข้าไปเป็นพันธมิตรกับกลุ่มรีวิวบล็อกเกอร์ หรือคนที่ชอบเข้าไปเขียนรีวิวเพื่อประชาสัมพันธ์สินค้าหรือบริการ หรือเราอาจปรับรูปแบบการให้ข้อมูลสินค้าให้มาเป็นในรูปแบบของรีวิว ก็น่าจะดึงดูดใจผู้อ่านได้มากกว่าวิธีเดิมๆ
 

ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ
http://www.thaiitwatch.org/autopagev4/show_page.php?topic_id=612&auto_id=4&TopicPk

อินเทอร์เน็ตกับการศึกษา

อินเทอร์เน็ตกับการศึกษา
อินเทอร์เน็ตสามารถให้ผู้เรียนติดต่อสื่อสารกับผู้คนทั่วโลกได้อย่างรวดเร็ว และ
สามารถสืบค้นหรือเผยแพร่ข้อมูลสารสนเทศจากทั่วโลก จึงทำให้เกิดการเรียนรู้ตามอัธยาศัยการประยุกต์ใช้อินเทอร์เน็ตกับกิจกรรมตามหลักสูตรเดิมที่มีอยู่ ทำให้ผู้เรียนเกิด
ทักษะในด้านการคิดอย่างมีระบบ (High - Order Thinking Skills) การคิดเชิงวิเคราะห์ (Critical Thinking) การวิเคราะห์สืบค้น (Inquiry - Based Analytical Skill) การวิเคราะห์ข้อมูล การแก้ปัญหา และการคิดอย่างอิสระเป็นการสนับสนุนกระบวนการสหสาขาวิชาการ (Interdisciplinary) คือ ในการนำ
เครือข่ายมาใช้เชื่อมโยงกับกิจกรรมการเรียนการสอนนั้น นักการศึกษาสามารถที่จะบูรณาการการเรียนการสอนในวิชาต่างๆ เช่นคณิตศาสตร์ ภูมิศาสตร์ สังคม ภาษา
วิทยาศาสตร์ ฯลฯ เข้าด้วยกันอินเทอร์เน็ตเมื่อนำมาใช้ในการพัฒนาการศึกษาก็จะทำให้เกิดประโยชน์และสร้าง
ความเท่าเทียมกันในด้านการศึกษาให้มากยิ่งขึ้น
รูปแบบของอินเทอร์เน็ตทางการศึกษา
รูปแบบของอินเทอร์เน็ตทางการศึกษาสามารถแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ ดังนี้การศึกษาค้นคว้า อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายที่รวมเครือข่ายงานต่าง ๆ ไว้มากมาย ทำ
ให้ผู้เรียนและผู้สอนสามารถสืบค้นข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ได้ทั่วโลกการติดต่อสื่อสาร ผู้เรียนและผู้สอนสามารถใช้อินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือในการติดต่อ
สื่อสารได้ไม่ว่าจะเป็นการรับส่ง E-mail , Chat , Telnet , Usenet เป็นต้น ซึ่งส่วนใหญ่ผู้สอนจะใช้อินเทอร์เน็ตในการนำเสนอบทเรียน สั่งงาน ตอบคำถามข้อสงสัย
รับงาน ฯลฯ ส่วนผู้เรียนจะใช้อินเทอร์เน็ตในการเรียนรู้ ส่งงาน ทบทวนบทเรียนระหว่างผู้สอนแล้วยังสามารถติดต่อสื่อสารกับผู้เรียนอื่น ๆ เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
ในหัวข้อต่าง ๆ ได้อีกด้วยการเรียนการสอนทางอินเทอร์เน็ต การใช้อินเทอร์เน็ตในการเรียนการสอนนั้น
สามารถทำได้ในรูปแบบการเรียนการสอนผ่านเว็บ (Web Based Instruction : WBI) ซึ่งเป็นการเรียนการสอนที่ประยุกต์คุณลักษณะของอินเทอร์เน็ต โดยนำ
ทรัพยากรที่มีอยู่ใน WWW มาเป็นสื่อกลางเพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้ในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นแหล่งข้อมูลอ้างอิง เอกสารประกอบการเรียน บทเรียน
สำเร็จรูป หรือแม้กระทั่งหลักสูตรวิชา เนื่องจาก Web เป็นบริการบนอินเทอร์เน็ตที่มีแหล่งข้อมูลอยู่มากมายและหลายรูปแบบ ทั้งตัวอักษร ภาพนิ่ง การเคลื่อนไหวหรือ
เสียง โดยอาศัยคุณลักษณะของการเชื่อมโยงหลายมิติ (Hyperlink) ทั้งในรูปแบบของ ข้อความหลายมิติ (Hypertext) หรือสื่อหลายมิติ (Hypermedia)เพื่อเชื่อม โยงแหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องไว้ด้วยกัน และเป็นการนำประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการค้นคว้าข้อมูลในการเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นการสนองตอบแนวคิดในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นหลัก
หลักการใช้อินเทอร์เน็ต
หลักการใช้อินเทอร์เน็ต โดยใช้หลัก SMART ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
(S) Safety ความปลอดภัย
(M) Manners ความมีมารยาท
(A) Advertising and Privacy Protection การรักษาสิทธิส่วนบุคคลในการเลือกรับสื่อโฆษณา
(R) Research ความสามารถในการค้นคว้าข้อมูลที่เป็นประโยชน์
(T) Technology ความเข้าใจเทคโนโลยีของอินเทอร์เน็ตสิ่งที่จำเป็นต้องรู้บนอินเทอร์เน็ตProtocol

Protocol คือ กฎระเบียบหรือภาษากลางของคอมพิวเตอร์ เพื่อ ให้ทุกเครื่องติดต่อด้วยมาตรฐานเดียวกัน
2. TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol)TCP/IP เป็นโปรโตคอลมาตรฐานที่ใช้ติดต่อสื่อสารในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
3. ที่อยู่บนอินเทอร์เน็ต (Internet Address)ที่อยู่บนอินเทอร์เน็ต หรืออีเมล์แอดเดรส จะประกอบด้วยชื่อของผู้ใช้คอมพิวเตอร์ (user) และชื่อของอินเทอร์เน็ต (Internet Name) โดยจะมีรูปแบบคือ user@
Internet Name เช่น Noomuan@nakornping.cmri.ac.th จะหมายถึงผู้ใช้ชื่อ Noomuan เป็นสมาชิกของเครื่องที่ศูนย์คอมพิวเตอร์ที่มีชื่อเป็น nakornping.cmri.ac.th
4. หมายเลขอินเทอร์เน็ต (IP Address)
หมายเลขอินเทอร์เน็ต จะเป็นรหัสไม่ซ้ำกัน ประกอบด้วยตัวเลข 4 ชุด ที่คั่นด้วย เครื่องหมายจุด (.) เช่น 205.151.224.10 จะเป็น IP Adress ของ cmri.ac.th ( สถาบันราชภัฏเชียงใหม่) แต่ละชุดจะไม่เกิน 255หน่วยงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับ IP Address ทั่วโลกโดยตรง ก็คือหน่วยงาน InterNIC (Internet Network Information Center)
5. ชื่ออินเทอร์เน็ต (DNS:Domain Name Server)
ชื่ออินเทอร์เน็ต จะเป็นชื่อที่อ้างถึงคอมพิวเตอร์ที่ต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ตได้ง่ายขึ้น (เนื่องจาก IP Address เป็นตัวเลข 4 ชุด ที่ยากในการจดจำ) DNSนั้นจะประกอบ ไปด้วยชื่อคอมพิวเตอร์ ชื่อเครือข่ายท้องถิ่น ชื่อสับโดเมน และชื่อโดเมน เช่น mail.ksc.net.th, jupiter.ksc.net.th (mail , jupiter คือ ชื่อคอมพิวเตอร์ , ksc คือ
ชื่อเครือข่ายท้องถิ่น , net คือชื่อสับโดเมน , th คือชื่อโดเมน) WWW.cmri.ac.th (www คือชื่อเครื่องที่ให้บริการข้อมูลแบบ World Wide Web , cmri คือชื่อ
เครือข่ายท้องถิ่น , ac คือชื่อสับโดเมน , th คือชื่อโดเมน)
192.133.10.1
chulkn.chulu.ac.th
ภาพที่ 10.1 DNS ที่สอดคล้องกับ IP Address ของสถาบันวิทยบริการ ฯจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ตารางที่ 10.1 ตัวอย่างชื่อโดเมนในประเทศสหรัฐอเมริกา
ชื่อโดเมน
ประเภทขององค์กรในสหรัฐอเมริกา

com : Commercial Organizations
องค์กรเอกชน

gov : Government Organizations
องค์กรรัฐบาล

mil : Military Organizations
องค์กรทหาร

net : Network Organizations
องค์กรบริการเครือข่าย

org:Non–Commercial Organizations
องค์กรอื่น ๆ / องค์กรที่ไม่แสวงหากำไร

edu : Educations Organizations
สถาบันการศึกษา
ตารางที่ 10.2 ตัวอย่างชื่อโดเมนซึ่งเป็นชื่อย่อของประเทศต่าง ๆ
ชื่อโดเมน
ชื่อประเทศ

au : Australia
ออสเตรเลีย

fr : France
ฝรั่งเศส

jp : Japan
ญี่ปุ่น

th : Thailand
ไทย

Uk : United Kingdom
อังกฤษ
ตารางที่ 10.3 ตัวอย่างชื่อสับโดเมนซึ่งเป็นส่วนขยายของชื่อโดเมน
ชื่อสับโดเมน
คำอธิบาย

co : Commercial Organizations
สำหรับองค์กรเอกชน

go : Government Organizations
สำหรับองค์กรรัฐบาล

Net : Network Organizations
สำหรับองค์กรบริการเครือข่าย

or : Non–Commercial Organizations
สำหรับองค์กรอื่นๆ/องค์กรที่ไม่แสวงหากำไร

ac : Academical Organizations
สำหรับสถาบันการศึกษา
การเชื่อมต่อเข้าระบบอินเทอร์เน็ต
เชื่อมต่อโดยตรง
เชื่อมต่อโดยตรง จะเป็นการเชื่อมต่อโดยตรงกับเครือข่ายหลัก (Backbone) โดยผ่านอุปกรณ์เกตเวย์ (Gateway) หรือเราเตอร์ (Router) จะต่อโดยตรงกับ
Internet การเชื่อมต่อโดยตรงนั้นเป็นการเชื่อมต่อแบบตลอดเวลา เสียค่าใช้จ่ายในการติดตั้งสูง แต่การรับส่งข้อมูลนั้นรวดเร็วและมีความน่าเชื่อถือ
การเชื่อมต่อผ่านทางผู้ให้บริการ
การเชื่อมต่อผ่านทางผู้ให้บริการ ผู้ให้บริการการเชื่อมต่อเรียกว่า ISP (Internet Service Provider) แบ่งลักษณะการเชื่อมต่อออกเป็น 2 ประเภท
2.1 การเชื่อมต่อแบบองค์กร องค์กรที่มีการจัดระบบเครือข่ายอยู่แล้วเมื่อนำเครื่องเซิร์ฟเวอร์มาเชื่อมต่อกับ ISP เครื่องลูกในระบบก็สามารถเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตได้
2.2 การเชื่อมต่อส่วนบุคคล โดยการเชื่อมต่อผ่านทางสายโทรศัพท์ผ่านอุปกรณ์แปลงสัญญาณที่เรียกว่า โมเด็ม (Modulator/DEModulator : Modem) ซึ่งมีค่า
ใช้จ่ายไม่สูง โดยมักเรียกการเชื่อมต่อแบบนี้ว่า Dial - Up
อุปกรณ์ในการเชื่อมต่อเข้าสู่อินเทอร์เน็ต
1. คอมพิวเตอร์
2. สายโทรศัพท์ จะต้องมีคู่สายโทรศัพท์เป็นหมายเลขส่วนตัว
3. โมเด็ม (Modem) เป็นอุปกรณ์ที่เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ผ่านสายโทรศัพท์ เพื่อการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์กับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยปกติสัญญาณสาย
โทรศัพท์เป็นแบบอนาล็อก โมเด็มมีหน้าที่แปลงจากสัญญาณอนาล็อกเป็นสัญญาณดิจิตอล
4. สมาชิกอินเทอร์เน็ต จะต้องสมัครสมาชิกกับศูนย์บริการอินเทอร์เน็ต เมื่อสมัครก็จะได้ชื่อล็อกอิน (Use Name) และรหัสผ่าน (Password) สำหรับใช้งานอิน
เทอร์เน็ต
5. ซอฟแวร์และโปรแกรมประยุกต์ เช่น โปรแกรมบราวเซอร์ Internet Explorer , Netcape

การสมัครเข้าเป็นสมาชิกของอินเทอร์เน็ต
ก่อนที่จะเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตได้นั้นจะต้องทำการสมัครเป็นสมาชิกของอินเทอร์เน็ตก่อน ซึ่งมีรูปแบบของการสมัครเป็นสมาชิก ดังนี้
รูปแบบที่เป็น Packet สำเร็จรูป ในปัจจุบันเป็นที่นิยมกันมากซึ่งผู้ใช้สามารถเข้าสู่
ระบบอินเทอร์เน็ตได้ง่ายขึ้น ซึ่งมีขายกันทั่ว ๆ ไป มีหลากหลายรูปแบบให้ได้เลือก ซึ่งมีราคาติดอยู่ข้างหน้าพร้อมกับระยะเวลาและจำนวนชั่วโมง ภายในจะมีแผ่นซีดีที่มี
โปรแกรม IE และโปรแกรมอื่น ๆ รวมอยู่พร้อมทั้งคู่มือการติดตั้งและรหัส Use Name และรหัส Password ที่เป็นกระดาษเหมือนกับซองกระดาษรหัส ATM บรรจุอยู่
รูปแบบการสมัครทางโทรศัพท์ เป็นการสมัครที่ผู้ใช้จะต้องโทรศัพท์ไปยังศูนย์บริการ
อินเทอร์เน็ต เมื่อติดต่อได้แล้วทางศูนย์บริการอินเทอร์เน็ตจะโอนไปให้ฝ่ายขายซึ่งผู้ใช้ต้องสอบถามราคา ระยะเวลา และจำนวนชั่วโมง เมื่อผู้ใช้เลือกชุดเวลาที่ต้องการ
ได้แล้วทางศูนย์บริการอินเทอร์เน็ตจะบอกหมายเลขบัญชีธนาคารเพื่อให้ผู้ใช้โอนเงินเข้าบัญชี แล้วผู้ใช้จึงนำใบนำฝากแฟกซ์ไปให้ทางศูนย์บริการอินเทอร์เน็ต จากนั้น
ทางศูนย์บริการอินเทอร์เน็ตจะแจ้ง Use Name และรหัส Password กลับมาให้ผู้ใช้
การสืบค้นข้อมูลจาก WWW
ส่วนมากจะใช้ Search Engine ในการสืบค้นข้อมูลจาก WWW Search Engine เป็นเครื่องมือในการค้นหาเว็บไซต์ ทำหน้าที่ในการให้บริการค้นหาข้อมูล โดย
เน้นเรื่องความสามารถในการค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต ทำให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตสะดวกมากขึ้นในการค้นหาข้อมูลในเรื่องราวต่างๆ โดยเว็บไซต์พวกนี้จะมีบริการอยู่
มากมายไม่ว่าจะเป็นของต่างประเทศหรือของไทย
วิธีใช้ Search Engine เริ่มจากหาเว็บไซต์และ Directory ที่มีเนื้อหาที่เราสนใจ จากนั้นก็
คลิกเข้าไปที่เว็บไซต์ที่ต้องการก็จะพบหน้าแรกที่เป็นช่องและเครื่องมือการสืบค้น ดังนี้
ค้นหา
จากนั้นก็ใส่ข้อมูลที่ต้องการลงในช่องค้นหา และกดปุ่ม Search ค้นหา และทางเว็บไซต์จะทำการค้นหาและรายงานผลการค้นหา แสดงชื่อเว็บไซต์ และ Directory ที่
เกี่ยวข้องให้ทราบ
Search Engine ที่นิยมกันมีมากมายเช่น www.google.com , www.sanook.com , www.hunsa.com , www.siamguru.com ,
www.hotsearch.dbg.co.th , www.thaifind.com , www.yumyai.com , www.thaiseek.com เป็นต้น
คำศัพท์บางคำที่เกี่ยวข้อง
Web Site เป็นเครื่องที่ใช้ในการจัดเก็บเว็บเพจ แต่ละองค์กรที่จะนำเสนอข้อมูลของตนในรูปของเว็บนี้ มักจะมีเว็บไซต์เป็นของตนเอง และมักใช้ชื่อองค์กรเป็นชื่อเว็บ
ไซต์ เพื่อให้ผู้ที่สนใจสามารถจดจำได้ง่าย
Home Page เว็บเพจหน้าแรกสุดของข้อมูลแต่ละเรื่อง ซึ่งก็เปรียบเหมือนหน้าปกของหนังสือนั่นเอง ส่วนของโฮมเพจนี้ จะเป็นส่วนที่บอกให้ทราบว่าข้อมูลนี้เป็น
ข้อมูลเรื่องใด พร้อมกับมีสารบัญในการเลือกไปยังหัวข้อต่าง ๆ ในเรื่องนั้น ๆ ด้วย
Web Page เอกสารข้อมูลในแต่ละหน้าซึ่งถูกเขียนขึ้นด้วยภาษา HTML ข้อมูลที่แสดงในเว็บเพจแต่ละหน้านี้อาจประกอบด้วย ข้อความ ภาพ และเสียง จึงเป็นข้อมูล
แบบสื่อประสม (Multimedia)
Web Browser เว็บเพจแต่ละหน้าเป็นเอกสารข้อมูลที่ถูกเขียนขึ้นด้วยภาษา HTML ดังนั้น การที่เครื่องของเราจะอ่านและแสดงผลเว็บเพจเหล่านี้ได้ จะต้องมี
โปรแกรมพิเศษสำหรับทำหน้าที่นี้โดยเฉพาะ โปรแกรมเหล่านี้เรียกว่า เว็บเบราเซอร์ (Web Browser) ซึ่งมีอยู่มากมายในปัจจุบัน แต่ที่รู้จักกันดี ได้แก่ Internet
Explorer (IE) ของบริษัท Microsoft และ Netscape Navigator ของบริษัท Netscape ซึ่งทั้งสองโปรแกรมนี้มีขีดความสามารถที่ใกล้เคียงกันเป็นอย่างมาก
WWW (World Wide Web) เป็นแหล่งข้อมูลแบบใยแมงมุม
HTML (HyperText Makeup Language) ระบบสร้างไฟล์ข้อมูล WWW
HTTP (HyperText Transfer Protocol) ระบบตอบโต้สำหรับการโอนไฟล์ไฮเปอร์เท็กซ์ซึ่งเป็นข้อมูล WWW
Hypertext ไฮเปอร์เท็กซ์เป็นคำที่มีข้อความหรือไฟล์ซ่อนอยู่เบื้องหลัง ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นเมนูหรือคำอธิบายสิ่งที่เกี่ยวข้องกับคำนั้น ๆ
Login ล็อกอิน คือการเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของศูนย์คอมพิวเตอร์
Server เซิร์ฟเวอร์ คือศูนย์คอมพิวเตอร์หลักที่ให้บริการ
http://pontip.awardspace.com/main/main5.html

ความรู้เบื้องต้นเรื่องการใช้อินเทอร์เน็ต

ความรู้เบื้องต้นเรื่องการใช้อินเทอร์เน็ต

รูปภาพของ siriyakorn
อินเทอร์เนตคืออะไร
อินเทอร์เนต (Internet) คือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก เกิดขึ้นจากระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เล็ก ๆ รวมกันเป็นระบบเครือข่ายใหญ่ เพื่อใช้ในการติดต่อสื่อสาร แลกเปลี่ยนข้อมูลกันทั่วโลก
อินเทอร์เนตเกิดขึ้นได้อย่างไร
รากฐานของอินเทอร์เนต เกิดขึ้นเมื่อประมาณ 20 ปีมาแล้ว โดยเริ่มจากเครือข่าย ARPANET ของกระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีความประสงค์ที่จะแลกเปลี่ยนข้อมูลวิจัยทางการทหาร หลักจากนั้นระบบเครือข่ายย่อยอื่น ๆ ก็ได้ทำการต่อเชื่อมและขยายแวดวงออกไปทั่วโลก ดังนั้นอินเทอร์เนตจึงไม่ได้เป็นของใครหรือของกลุ่มใดโดยเฉพาะ
อินเทอร์เนตทำอะไรได้บ้าง ?
เดิมทีการใช้บริการจำกัดให้ใช้ในด้านการศึกษาวิจัยและอยูในแวดวงการศึกษาเท่านั้น ต่อมาได้มีการขยายในเชิงธุรกิจมากขึ้น ทำให้ขอบข่ายการใช้ Internet มีมากมาย เช่น
1. สามารถติดต่อกับคนได้ทั่วโลก
2. สามารถใช้เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล , ความคิดเห็น
3. สามารถใช้ช่วยในการค้นหาและโอนย้าย Software ต่าง ๆ มาได้ฟรี
4. สามารถค้นคว้าวิจัย เปรียบเหมือนคุณเข้าห้องสมุดไปศึกษาค้นคว้าหนังสือต่าง ๆ โดยที่ตัวคนเองไม่ต้องไปยังห้องสมุดนั้น
5. สามารถอ่านข่าวสารของกลุ่มสนทนาต่าง ๆ
6. สามารถท่องเที่ยวไปยังสถานที่ต่าง ๆ ได้ทั่วโลก เช่น พิพิธภัณฑ์ , สวนสัตว์ เป็นต้น

บริการต่าง ๆ ของอินเทอร์เนต
1. ไปรษณีย์อิเลคทรอนิคส์ (Electronic Mail หรือ E-Mail)
เป็นบริการหนึ่งบนอินเทอร์เนตที่คนนิยมใช้กันมากคือส่งจดหมายโดยทางคอมพิวเตอร์ถึงผู้ที่มีบัญชีอินเทอร์เนต ด้วยกันไม่ว่าจะอยู่ใกล้หรือไกลคนละซีกโลกจดหมายก็จะไปถึงอย่างสะดวกรวดเร็วและง่ายดายโปรแกรมที่ใช้ ในการรับ-ส่งจดหมายอิเลคทรอนิคส์นั้นมี หลายโปรแกรมด้วยกันแล้วแต่จะเลือก ใช้ตาม ความ ชอบหรือความถนัด โปรแกรมที่พูดถึงก็เช่น Eudora, Pine, Netscape Mail, Micorsoft Explorer และอื่น ๆ อีกมากมาย เป็นต้น
2. World Wide Web (WWW)   เป็นการเข้าสู่ระบบข้อมูลอย่างหนึ่งที่กำลังเป็นที่ฮิตสุดบนอินเทอร์เนต ข้อมูลนี้จะอยู่ในรูปของ Interactive Multimedia คือ มีทั้งรูปภาพ ข้อความ ภาพเคลื่อนไหว เสียง และวีดีโอ อีกทั้งข้อมูลเหล่านี้ยังใช้ระบบที่เรียกว่า hypertext กล่าวคือ จะมีคำสำคัญหรือรูปภาพในข้อมูลนั้นที่จะช่วยให้ท่านเข้าสู่รายละเอียดที่ลึกและกว้างขวางยิ่งขึ้น คำสำคัญดังกล่าวจะเป็นคำที่เป็นตัวหนา หรือขีดเส้นใต้ เพียงแต่ท่านเลือกกดที่คำที่เป็นตัวหนาหรือขีดเส้นใต้ นั้น ๆ ท่านก็สามารถเข้าสู่ข้อมูลเพิ่มเติมได้ (ข้อมูลเหล่านี้จะมีผู้สร้างขึ้นมาและเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ ทั่วโลก) Uniform Resource Locator (URL) คือที่อยู่ของข้อมูลบน WWW ซึ่งถ้าเราจะหาข้อมูลเราต้องทราบที่อยู่ของ homepage หรือ URL ก่อน ตัวอย่างที่อยู่ของ homepage ของกลุ่มเซนต์จอห์นคือ ttp://www.stjohn.ac.th ส่วนโปรแกรมที่ช่วยให้เข้าสู่ข้อมูลที่อยู่บน WWW ได้ คือ Netscape และ Microsoft Explorer เป็นต้น
3. FTP (File Transfer Protocol)    คือ บริการที่ใช้ในการโอนย้าย file หรือข้อมูลจากคอมพิวเตอร์หนึ่งไปยังอีกคอมพิวเตอร์หนึ่ง ในเครือข่ายอินเทอร์เนตถ้าเครื่องนั้นๆต่อเข้ากับระบบที่เป็นอินเทอร์เนตก็สามารถโอนย้ายข้อมูลกันได้เครื่อง คอมพิวเตอร์บางที่นั้นจะทำหน้าที่ เป็นศูนย์รวมของข้อมูลต่าง ๆ เช่น รูปภาพ , ข้อความ , บทความ , คู่มือ และโปรแกรมต่าง ๆ ที่เป็น Freeware หรือ Shareware เและเปิดให้เข้าไปโอนย้านมาได้ฟรี โปรแกรมที่จะช่วยในการโอนย้ายข้อมูล ก็เช่น Netscape, Telnet WSFTP เป็นต้น
 4.Telnet  เป็นบริการที่ช่วยให้เราสามารถเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์อื่นเสมือนหนึ่งไปนั่งใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ของที่นั่น โปรแกรมที่ช่วยให้ท่านใช้บริการนี้ได้คือ โปรแกรม NCSA Telnet เมื่อเปิดโปรแกรมแล้วให้พิมพ์คำสั่ง Telnet ดังในรูปภาพข้างล่างเมื่อท่านใช้คำสั่ง Telnet แล้วให้พิมพ์ที่อยู๋ของแหล่งข้อมูลนั้น ท่านก็จะสามารถเข้าสู่ระบบข้อมูลนั้น ๆ ได้เสมือนท่านไปนั่งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ของเครื่อง ๆ นั้นเลยทีเดียว ระบบ Telnet
5. Usenet / News groups   เป็นบริการที่ช่วยให้ท่านเข้าสู่ข่าวสารข้อมูลของกลุ่มสนทนาแลกเปลี่ยนปัญหาข้อสงสัยข่าวสารต่าง ๆ กลุ่มเหล่านี้จะมีสารพัดกลุ่มตามความสนใจ โปรแกรมที่ช่วยให้ท่านใช้บริการนี้ คือ โปรแกรม Netscape News ที่อยู่ใน โปรแกรม Netscape Navigator Gold 3.0 เมือเปิดโปรแกรมดังกล่าว จากนั้นรายชื่อของกลุ่มสนทนาจะปรากฎขึ้นให้ท่านเลือกอ่านตามใจชอบ
หากจะใช้ Internet ควรต้องมีอะไรบ้าง ?
1. เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่อเชื่อมอยู่ในเครือข่ายอินเทอร์เนต การต่อเครื่องเครื่องคอมพิวเตอร์เข้ากับระบบเครือข่ายอินเทอร์เนตนั้น ลักษณะการต่อจะขึ้นอยู่กับความเร็วของสายที่ต่อเชื่อม
2. หากท่านต้องการใช้บริการอินเทอร์เนตจากที่บ้าน โดยการต่อคอมพิวเตอร์ที่บ้านให้เข้าสู่ ระบบเครือข่ายอินเทอร์เนต ท่านต้องมี Modem (โมเด็ม) หรือตัวแปลงสัญญาณ โมเด็มจะเป็นตัวช่วยให้เครื่องคอมพิวเตอร์ของท่านรับข้อมูลจากอินเทอร์เนต ได้ความเร็วของ Modem ควรจะเป็นอย่างต่ำ 14.1 kbps หรือมากกว่านั้น (kilobyte per second = อัตราความเร็วในการส่งข้อมูล)
3. หากท่านใช้บริการอินเทอร์เนตจากที่ทำงาน มหาวิทยาลัยหรือโรงเรียน สำหรับหน่วยงานใหญ่ ๆ มักจะมีการต่อเชื่อมเข้ากับระบบอินเทอร์เนตด้วยการใช้สายเช่า ซึ่งมีความเร็วในการส่งสัญญาณสูงแทนโมเด็ม และจะต้องมีโปรแกรมที่ช่วยให้ท่านเข้าสู่ระบบอินเทอร์เนต ขึ้นอยู่กับว่าท่านจะเลือกใช้บริการอะไร ตัวอย่างเช่น หารกจะใช้ E-Mail (Electronic Mail) หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ โปแกรมที่จะใช้ได้ เช่น Pine , Eudora , Netscape Mail, Microsoft Explorer แต่ถ้าจะใช้ WWW ก็ต้องใช้โปรแกรม Netscape เป็นต้น
4. Internet Account ท่านต้องเปิดบัญชีอินเทอร์เนต เหมือนกับต้องจดทะเบียนมีชื่อและที่อยู่บนอินเทอร์เนต เพื่อที่ว่าเวลาติดต่อสื่อสารกับใครบนอินเทอร์เนต จะได้มีข้อมูลส่งกลับมาหาท่านได้ถูกที่
มารยาทในการใช้อินเตอร์เนต (Netiguette)
การใช้อักษรพิมพ์ตัวใหญ่หมดทุกตัวในการเขียนจดหมายจะเป็นเสมือนการตะโกน ดังนั้นควรเลือกใช้ตัวอักษรให้เหมาะสม
ไม่ควรใช้อารมณ์ในการตอบโต้ และควรรักษามารยาทโดยใช้คำที่สุภาพ
ไม่มีความลับใด ๆ บน Internet ให้นึกเสมอว่าข้อความของเราจะมีคนอ่านมากมายเมื่อเขียนไปแล้วไม่สามารถลบล้างได้
โทษของอินเทอเน็ต
 โรคติดอินเทอเน็ต(Webaholic)
อินเตอร์เน็ตก็เป็นสิ่งเสพติดหรือ?
หากการเล่นอินเตอร์เน็ต ทำให้คุณเสียงาน หรือแม้แต่ทำลาย นักจิตวิทยาชื่อ Kimberly S. Young ได้ศึกษาพฤติกรรม ของผู้ใช้อินเตอร์เน็ตอย่างมากเป็นจำนวน 496 คน โดยเปรียบเทียบ กับบรรทัดฐาน ซึ่งใช้ในการจัดว่า ผู้ใดเป็นผู้ที่ติดการพนัน การติดการพนันประเภทที่ถอนตัวไม่ขึ้น มีลักษณะคล้ายคลึงกับ การติดอินเตอร์เน็ต เพราะทั้งสองอย่าง เกี่ยวข้องกับการล้มเหลว ในการควบคุมความต้องการของตนเอง โดยไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสารเคมีใดๆ (อย่างสุรา หรือยาเสพติด) คำว่า อินเตอร์เน็ต ในการศึกษาวิจัยเรื่องนี้ หมายรวมถึง ตัวอินเตอร์เน็ตเอง ระบบออนไลน์ (อย่างเช่น AmericaOn-line, Compuserve, Prodigy) หรือระบบ BBS (Bulletin Board Systems) และการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ได้ระบุว่า ผู้ที่มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ อย่างน้อย 4 อย่าง เป็นเวลานานอย่างน้อย 1 ปีถือได้ว่า มีอาการติดอินเตอร์เน็ต
1. รู้สึกหมกมุ่นกับอินเตอร์เน็ต แม้ในเวลาที่ไม่ได้ต่อกับอินเตอร์เน็ต
2. มีความต้องการใช้อินเตอร์เน็ตเป็นเวลานานขึ้น
3. ไม่สามารถควบคุมการใช้อินเตอร์เน็ตได้
4. รู้สึกหงุดหงิดเมื่อต้องใช้อินเตอร์เน็ตน้อยลงหรือหยุดใช้
5. ใช้อินเตอร์เน็ตเป็นวิธีในการหลีกเลี่ยงปัญหาหรือคิดว่าการใชอินเตอร์เน็ตทำให้ตนเองรู้สึกดีขึ้น
6. หลอกคนในครอบครัวหรือเพื่อน เรื่องการใช้อินเตอร์เน็ตของตัวเอง
7. การใช้อินเตอร์เน็ตทำให้เกิดการเสี่ยงต่อการสูญเสียงาน การเรียน และความสัมพันธ ์ ยังใช้อินเตอร์เน็ตถึงแม้ว่าต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก
8. มีอาการผิดปกติ อย่างเช่น หดหู่ กระวนกระวายเมื่อเลิกใช้อินเตอร์เน็ต
9. ใช้เวลาในการใช้อินเตอร์เน็ตนานกว่าที่ตัวเองได้ตั้งใจไว้
 สำหรับผู้ใช้อินเตอร์เน็ต ที่ไม่เข้าข่ายข้างต้นเกิน 3 ข้อในช่วงเวลา 1 ปี ถือว่ายังเป็นปกติ จากการศึกษาวิจัย ผู้ที่ใช้อินเตอร์เน็ตอย่างหนัก 496 คน มี 396 คนซึ่งประกอบไปด้วย เพศชาย 157 คน และเพศหญิง 239 คน เป็นผู้ที่เรียกได้ว่า "ติดอินเตอร์เน็ต" ในขณะที่อีก 100 คนยังนับเป็นปกติ ประกอบด้วยเพศชาย และเพศหญิง 46 และ 54 คนตามลำดับ สำหรับผู้ที่จัดว่า "ติดอินเตอร์เน็ต" นั้นได้แสดงลักษณะอาการของการติด (คล้ายกับการติดการพนัน) และการใช้อินเตอร์เน็ต อย่างหนักเหมือนกับ การเล่นการพนัน ความผิดปกติในการกินอาหาร หรือสุราเรื้อรัง มีผล กระทบต่อการเรียน อาชีพ สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของคนคนนั้น ถึงแม้ว่าการวิจัยที่ผ่านมาได้แสดงให้เห็นว่า การติดเทคโนโลยีอย่างเช่น การติดเล่นเกมส์ ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นกับเพศชายแต่ผลลัพธ์ข้างต้น แสดงให้เห็นว่า ผู้ที่ติดอินเตอร์เน็ต ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง วัยกลางคนและไม่มีงานทำ
 เรื่องอณาจารผิดศีลธรรม(Pornography/Indecent Content)
เรื่องของข้อมูลต่างๆที่มีเนื้อหาไปในทางขัดต่อศีลธรรม ลามกอนาจาร หรือรวมถึงภาพโป๊เปลือยต่างๆนั้นเป็น เรื่องที่มีมานานพอสมควรแล้วบนโลกอินเทอเน็ต แต่ไม่โจ่งแจ้งเนื่องจากสมัยก่อนเป็นยุคที่ WWW ยังไม่พัฒนา มากนักทำให้ไม่มีภาพออกมา แต่ในปัจจุบันภายเหล่านี้เป็นที่โจ่งแจ้งบนอินเทอเน็ตและสิ่งเหล่านี้สามารถเข้าสู่เด็ก และเยาวชนได้ง่ายโดยผู้ปกครองไม่สามารถที่จะให้ความดูแลได้เต็มที่ เพราะว่าอินเทอเน็ตนั้นเป็นโลกที่ไร้พรมแดนและเปิดกว้างทำให้สือ่เหล่านี้สามรถเผยแพร่ไปได้รวดเร็วจนเรา ไม่สามารถจับกุมหรือเอาผิดผู้ที่ทำสิ่งเหล่านี้ขึ้นมาได้
http://www.thaigoodview.com/node/17233
 
 

อินเทอร์เน็ตกับการเสริมสร้างการเรียนรู้ของเยาวชนไทย

อินเทอร์เน็ตกับการเสริมสร้างการเรียนรู้ของเยาวชนไทย      

อินเทอร์เน็ตเครือข่ายออนไลน์แห่งโลกอิเล็กทรอนิกส์ดิจิตอล เครือข่ายดังกล่าวเป็นช่องทางสำคัญช่องทางหนึ่งในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและ การสื่อสาร มาพัฒนากิจกรรมของมนุษยชาติ ที่เกี่ยวกับ สังคม เศรษฐกิจ  การเมือง และการศึกษา โดยเฉพาะกับการศึกษาเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง เพราะทุกความก้าวหน้า ของเทคโนโลยี คือความก้าวหน้าของการศึกษา และการศึกษาก็สร้างโลกล้ำสมัยในยุคต่าง ๆ ให้เกิดขึ้น และยุคสมัยนั้นเองที่ทำให้มวลมนุษย์ในโลกใบนี้มีความใกล้ชิดกันอย่างชนิดไร้ ซึ่งพรมแดน ถึงแม้จะอยู่กันคนละมุมโลกก็ตาม'
นักการศึกษามากมายในยุคโลกแห่งอิเล็กทรอนิกส์ดิจิตอล ได้ให้คำจำกัดความของคำว่า อินเทอร์เน็ต ว่าหมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ในรูปแบบหนึ่ง ที่เกิดจากการร่วมมือกันระหว่างองค์กรทางการศึกษาและหน่วยงานต่าง ๆ ทั่วโลก ที่นำเครือข่ายคอมพิวเตอร์ย่อย ๆ ของตน มาเชื่อมต่อเพื่อสื่อสารกันในกลุ่ม  กระทั่งปัจจุบันได้มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศระบบอินเทอร์เน็ตมาช่วยในการ สร้างความรู้และเชื่อมโยงแหล่งเรียนรู้ เพื่อลดช่องว่างและระยะเวลา ในการเรียนรู้ที่ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ และสืบค้นหาความรู้ต่าง ๆ ได้ด้วยตนเองจากเครือข่ายดังกล่าว  คลังความรู้ซึ่งถูกสร้างและจัดเก็บอยู่บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สามารถจัดเก็บได้ในปริมาณมากมายมหาศาลกว่าบรรดาสื่ออื่น ๆ ทั้งหมดที่มีการจัดสร้างขึ้น อีกทั้งอินเทอร์เน็ตยังเป็นเครือข่ายที่มี  การเผยแพร่ข้อมูลระดับโลกที่มีราคาถูกที่สุด (กรภัทร์  สุทธิดารา,ไม่ระบุปีที่พิมพ์,137 ) โดยผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่ทันสมัยได้อย่าง ถูกต้อง แม่นยำ รวมไปถึงการเป็นเครือข่ายแห่งการเรียนรู้  ที่สนับสนุนการเรียนการสอนซึ่งเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (CHILD CENTER LEARNING) ได้เป็นอย่างดี  รวมทั้งตอบสนองผู้เรียนที่ชื่นชอบการ คิดค้น โดยการสร้างความรู้และความเข้าใจ  ใหม่ ๆ  ได้ด้วยตนเอง สามารถเชื่อมโยงกระบวนการเรียนรู้ให้เข้ากับชีวิตจริง และทำให้การเรียนรู้ของเด็กเป็นไปอย่างต่อเนื่อง  ฉะนั้นบทบาทการเรียนรู้ในอนาคตคงจะเข้าไปเกี่ยวข้องกับระบบอินเทอร์เน็ตมาก ขึ้น การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จึงเป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องได้รับการศึกษา
อินเทอร์เน็ต จึงเป็นโลกเสมือนของระบบการจัดการในศาสตร์แขนงต่าง ๆ ที่มีองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนเป็นจำนวนมาก เข้ามาจับจองพื้นที่นำเสนอระบบของตน โดยเฉพาะกับระบบการจัดการศึกษา ซึ่งมีปริมาณมากมายมหาศาลบนโลกออนไลน์ ที่ช่วยเสริมสร้างการเรียนรู้ให้กับเยาวชนของชาติ  ซึ่งล้วนแต่มีประโยชน์แตกต่างกันไปในแต่ละระบบของผู้คิดค้น กระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะผู้รับผิดชอบการจัดการศึกษาในภาพรวมของชาติ โดยองค์กรหนึ่งของรัฐที่ใช้ประโยชน์จากเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มาใช้  สร้างเสริมการเรียนรู้อย่างสมบูรณ์แบบให้กับเยาวชนไทย โดยระบบที่มีประสิทธิภาพและใช้อยู่  ในขณะนี้ ไดแก่  ระบบการบริหารการเรียนการสอน LMS  ระบบดังกล่าวได้รับการตอบรับ  เป็นอย่างดี จากสถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานทั้งภาครัฐและเอกชนในปัจจุบัน
 ระบบ บริหารการเรียนการสอน (LEARNING MANAGEMENT SYSTEM : LMS) เป็นระบบที่อำนวยความสะดวกให้แก่ นักเรียน ครู ผู้ปกครอง และผู้บริหารการศึกษา โดยใช้เทคโนโลยีที่เข้าถึงพฤติกรรมของคนไทย ให้สามารถนำไปใช้จัดระบบการลงทะเบียน แสดงผลการเรียน การสร้าง การจัดเก็บและเผยแพร่สื่อการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ได้โดยง่าย อีกทั้งมุ่งเน้นให้เป็นแหล่งค้นคว้าข้อมูล บทเรียนและเสริมสร้างการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนและผู้เรียนในสถานศึกษา และหน่วยงานการจัดการฝึกอบรม เทคโนโลยีที่ใช้ในระบบดังกล่าวเรียกว่า  EDUCATION SPHERE LEARNING MODEL

ระบบบริหารการเรียนการสอนLMS เป็นระบบที่กระทรวงศึกษาธิการได้จัดเตรียมไว้สำหรับการเรียนการสอน ซึ่งก็ประกอบไปด้วย ระบบบริหารจัดการหลักสูตร  ระบบบริหารการสร้างและจัดการเนื้อหา ระบบบริหารการเรียนการสอนผ่านห้องเรียนเสมือน ระบบติดตามประเมินผล  ระบบการสร้างปฏิสัมพันธ์ในการเรียนรู้   ทั้งนี้สามารถสรุปแยกย่อยแต่องค์ประกอบของระบบที่เรียกว่า EDUCATION SPHERE LEARNING MODEL ได้ดังนี้(ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร,ระบบบริหารการเรียนการสอน, อ้างอิงในแผ่นพับ)
1. MESSAGE BOARD ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารในรายวิชาเดียวกัน แต่เป็นการสื่อสารแบบ ASYNCHRONOUS  ซึ่งแต่ละคนไม่จำเป็นต้อง ONLINE พร้อมกัน แต่จะเป็นลักษณะกระดานข่าว ที่แต่ละคนสามารถ POST ข้อความ ซึ่งเรียกกันว่ากระทู้ โดยเพื่อนในชั้นเรียน และผู้สอน สามารถแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมในกระทู้นั้น หรือตั้งกระทู้ใหม่ลงในกระดานข่าวได้
2. LIVE BOARDCAST ทำให้ผู้เรียนรู้สึกว่าได้เรียนกับผู้สอนจริง โดยการถ่ายทอดสด ช่วยให้ได้รับฟังเนื้อหา และเห็นภาพผู้สอนเหมือนฟังบรรยายในห้องเรียน สามารถบันทึกไว้ศึกษาทบทวนได้ในรูปแบบวิดิโอออนดีมานด์
3. FAQS เป็นการประมวลคำถามที่มักเกิดขึ้นเพื่อให้ผู้เรียนสามารถค้นหาคำ ตอบอย่างรวดเร็ว โดยไม่ต้องคอยให้ผู้สอนตอบคำถาม ผู้สอนสามารถเขียนคำถามและตอบคำถามไว้ในระบบได้ด้วยตนเอง
4. DOCUMENTS ผู้เรียนสามารถได้เรียกดูข้อมูลที่ผู้สอนเตรียมไว้ให้แก่ผู้เรียน พร้อม ๆกับบทเรียนที่ผู้เรียนได้เรียนผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์
5. VDO CONFERENCE เป็นเครื่องมือที่ทำให้ทั้งผู้เรียนและผู้สอน เรียนรู้ ติดต่อสื่อสาร และโต้ตอบกัน เหมือนได้นั่งเรียนอยู่ในห้องเดียวกัน
6. CHAT เครื่องมือสำหรับสื่อสารแบบ REAL TIME ใช้แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ปรึกษา หารือ เหมือนนั่งสนทนาอยู่ในห้องเดียวกัน
7.  URL LINK ช่วยให้ผู้เรียนเข้าถึงแหล่งข้อมูลต่าง ๆ บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้อย่างรวดเร็ว
จากเครื่องมือดังกล่าวข้างต้น ล้วนเป็นเครื่องมือที่สามารถอำนวยความสะดวก และเอื้อต่อการเรียนรู้ในห้องเรียนที่สามารถเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนความรู้ ระหว่างผู้สอนกับผู้สอน ผู้สอนกับผู้เรียน และผู้เรียนกับผู้เรียนด้วยกัน เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ที่ครบถ้วนสมบูรณ์ นอกจากนี้ยังช่วยอำนวยความสะดวกสำหรับการเรียนรู้ด้วยตนเองอีกด้วย ซึ่งทำให้ผู้เรียนไม่รู้สึกว่ากำลังเรียนกับคอมพิวเตอร์เพียงลำพัง แต่จะรู้สึกว่าตนได้อยู่ในชุมชนการเรียนรู้ที่มีทั้งผู้สอนและเพื่อนร่วม ชั้นเรียนในรูปแบบออนไลน์อีกด้วย(ระบบบริหารการเรียนการสอน, อ้างอิงในแผ่นพับของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร  กระทรวงศึกษาธิการ)
การออกแบบการสอนผ่านระบบเครือข่าย INTERNET  ด้วยโปรแกรมจัดการระบบ (LEARNING MANAGEMENT SYSTEM: MOE LMS) เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการบริหารจัดการเรียนการสอนแบบ E-LEARNING เพื่อแสดงให้เห็นว่า LMS สามารถจัดการลงทะเบียนเข้ามาเรียน และวัดผล ประเมินผลการเรียนได้ มีการตรวจให้คะแนนผลการเรียน และตอบสนองต่อผู้ใช้ รวมทั้งการตรวจสอบจำนวนผู้เรียนที่เข้ามาเรียนในระบบนี้  ซึ่งนอกจากจะต้องรู้จักโปรแกรมที่จัดการ (LMS) ใน E-LEARNING แล้ว ยังต้องมีเนื้อหาสาระต่าง ๆ ที่ให้ผู้เรียนใช้ในการเรียนรู้ นั่นคือ DIGITAL CONTENT ซึ่งเป็นแผนการจัดการเรียนรู้ในรูปของอิเล็กทรอนิกส์ ประกอบด้วยจุดประสงค์การเรียนรู้ แบบทดสอบ ก่อน-หลังเรียน เนื้อหาสาระความรู้ สื่อประกอบการสอนและการวัดและประเมินผล  การเรียน ซึ่งครูจะได้รับการอบรมให้มีความรู้ ทักษะการใช้ LMS ที่เป็นการจัดการระบบและได้ฝึกสร้างเนื้อหาบทเรียนเพื่อนำไปใช้ทดลองสอนกับ นักเรียน

ผลงานที่ปรากฏกับครู กล่าวคือ ครูสามารถออกแบบการสอนและสร้างเนื้อหาบทเรียน ONLINE ที่ใช้ ICT และสร้างสื่อในระบบการเรียนการสอนแบบ E-LEARNING ได้ ครูมีความรู้ ความเข้าใจและจัดการเรียนรู้ ในระบบการเรียนการสอนแบบ E-LEARNING ครูสามารถติดตามผลความก้าวหน้าในการเรียนรู้แบบ ONLINE  ได้
ผลงานที่ปรากฏกับนักเรียน ได้แก่ นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ทุกคนทุกที่ และทุกเวลาและทั้งในลักษณะการเรียนเสริม และเรียนซ้ำในส่วนที่ยังไม่เข้าใจได้ด้วยตนเองผลงานที่ปรากฏกับโรงเรียน ได้แก่  โรงเรียนมีการประยุกต์ E-LEARNING เพื่อให้บริการผู้เรียนได้ตลอดเวลา ไม่ว่าจะอยู่ที่บ้านหรือที่ใด โรงเรียนมีแหล่งเรียนรู้และสื่อการสอนที่สร้างอย่างเป็นระบบ(สำนักงานคณะ กรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน,2549:14-15)
การใช้อินเทอร์เน็ต เพื่อการศึกษาจึงมีความหมายครอบคลุมกิจกรรมด้านการศึกษาที่ถูกวางรูปแบบ โดยครูผู้ทำหน้าที่ถ่ายทอดความรู้ผ่านทางอินเทอร์เน็ต  เป้าหมายหลักของการศึกษาที่ควรคำนึงถึงก็คือ  ครูต้องสร้างกิจกรรมการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับระดับผู้เรียน  การเสริมทักษะและความรู้ให้กับครูผู้สอนจะช่วยให้การเรียนการสอน มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น รวมทั้งการกำหนดเป้าหมายการศึกษาเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ผ่านอินเทอร์เน็ต เป็นสำคัญ ทั้งนี้เพื่อให้การแก้ปัญหาและการเรียนรู้ของเด็กไทย เป็นไปได้อย่างต่อเนื่อง  การปรับปรุงการเรียนการสอนให้เข้ากับยุคสมัยจึงเป็นสิ่งสำคัญและจากการที่ กระทรวงศึกษาธิการ ได้นำระบบบริหารการเรียนการสอน (LMS) มาใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต  และเพื่อให้รูปแบบดังกล่าวประสบผลในทางปฏิบัติจึงได้ดำเนินการพัฒนาโรงเรียน รูปแบบใหม่ โดยเน้นการใช้ ICT  เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้สำหรับการเรียนการสอน ซึ่งเป้าหมายสำคัญก็คือการพัฒนาครูให้สามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ ICT เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้สามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นผู้คิด ผู้สร้าง ผู้ผลิตชิ้นงานที่เกิดจากการเรียนรู้  และครูสามารถนำ ICT ไปใช้บูรณาการในการจัดการเรียนรู้ในสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคซันนิสม์ (CONSTRUCTIONISM)  ที่เน้นผู้เรียน เป็นสำคัญ (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน,2549:3)
การเสริมสร้างการเรียนรู้ของเยาวชนไทยในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ (ICT) ในความคิดของผู้เขียน นับเป็นสิ่งท้าทายในการดำเนินงานของกระทรวงศึกษาธิการเป็นอย่างมาก ทั้งนี้เพราะการพัฒนาเยาวชนไทยให้มีความรู้ ความสามารถ มีสติปัญญาทัดเทียมกับนานาประเทศโดยเลือกเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตมาประยุกต์ ใช้ในการเรียนการสอนเป็นเรื่องยากที่สามารถทำได้ และในขณะเดียวกันก็สามารถพัฒนาความรู้ด้าน ICT ให้กับครูและอาจารย์ได้ด้วย นอกจากนั้นในการพัฒนาหลักสูตรและสร้างสื่อการเรียนการสอนด้วย ICT ก็เป็นสิ่งที่วงการการศึกษาให้ความสนใจและสนับสนุนให้มีการพัฒนาได้ อย่างกว้างขวางออกไป  ฉะนั้นประโยชน์ของอินเทอร์เน็ตที่นำมาใช้ในวงการการศึกษาจึงมีมากมายมหาศาล  ทำให้การแสวงหา ความรู้ของเด็กไทยจะไม่ถูกปิดกั้นเหมือนเช่นในอดีตที่ผ่านมา  วิถีแห่งการเรียนรู้ของเด็กจึงไม่มีที่สิ้นสุด เด็กจะสามารถสั่งสมความรู้นั้นไปได้ตลอดชีวิต เด็ก ๆ จะได้รับประสบการณ์ตรงเสมือนและมีความรู้ที่ถาวร คงทน ซึ่งจะนำพาเยาวชนไทยก้าวไปสู่ระดับสากล เป็นเด็กเก่ง เด็กฉลาดของประเทศ และสร้างสรรค์ความเจริญรุ่งเรืองให้กับประเทศชาติของเราสืบต่อไป แต่ปัญหาที่ก้าวตามมากับการจัดระบบดังกล่าวข้างต้น ก็คือ การก้าวตามเทคโนโลยีล้ำยุคอย่างไม่หยุดยั้ง อันเป็นผลมาจากความไม่พร้อมของบุคลากรในชาติ ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ผู้เกี่ยวข้องจะต้องเร่งแก้ไขโดยระบุปัญหาดังกล่าวให้ เป็นวาระแห่งชาติ ซึ่งคนไทยทุกคนจะต้องได้รับการพัฒนาที่เท่าเทียมกัน ถึงจะทำให้เยาวชนของเราก้าวทันนานาประเทศได้ ท่านเห็นด้วยหรือไม่

อินเตอร์เน็ตและการศึกษาไทย

อินเตอร์เน็ตและการศึกษาไทย

วิโรจน์ อรุณมานะกุล

1. ความเป็นมา

            ยุคปัจจุบันนอกจากจะเป็นยุคโลกาภิวัฒน์แล้ว  ยังเป็นยุคแห่งสารสนเทศไร้พรมแดนด้วย   และเป็นยุค
ที่เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตเริ่มก้าวเข้ามามีบทบาทสำคัญทั้งในภาคธุรกิจและในภาคการศึกษา  ดังจะเห็นได้จาก
การที่ประเทศสหรัฐอเมริกาได้ประกาศนโยบายที่จะให้ทุกห้องเรียนสามารถเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตได้ภายในปี
ค.ศ. 2000 และนักเรียนทุกคนต้องได้รับการศึกษาด้านเทคโนโลยีนี้  ในประเทศไทยเอง ถึงแม้จะไม่มีการ
ประกาศแผนนโยบายด้านนี้ชัดเจน  อินเตอร์เน็ตก็เริ่มก้าวเข้ามาสู่สถาบันการศึกษาโดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับ
อุดมศึกษา  ดังจะเห็นได้จากการที่มหาวิทยาลัยต่างๆ  ได้ลงทุนติดตั้งระบบเครือข่าย network ภายในและต่อ
เข้ากับอินเตอร์เน็ตเพื่อให้อาจารย์และนิสิตนักศึกษาได้ใช้อินเตอร์เน็ตกัน
            การนำอินเตอร์เน็ตเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เป็นการนำสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้โดยมีจุด
มุ่งหมายเพื่อประโยชน์ต่อการศึกษา   ซึ่งในเรื่องนี้  มีผู้ที่มีความคิดเห็นแตกต่างกันเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มอง
เห็นข้อดีของการใช้ประโยชน์จากสื่อนี้เพื่อการศึกษา  เพราะมองว่าอินเตอร์เน็ตเป็นสื่อที่ช่วยให้ผู้รับสารเข้าถึงข้อ
มูลได้อย่างมากมายและสะดวกรวดเร็ว ช่วยให้มีการเรียนรู้แบบ self center มากขึ้น  ขณะที่อีกกลุ่มจะมองการ
นำเทคโนโลยีนี้มาใช้ในเชิงลบ  คือมองถึงผลกระทบของสื่อนี้ต่อระบบการศึกษาว่า จะส่งผลให้เกิดการปรับ
เปลี่ยนโครงสร้างการศึกษาไปจนถึงล้มล้างระบบและสถาบันการศึกษาที่มีมากว่า 2500 ปี
 

2. ทำไมต้องนำสื่ออินเตอร์เน็ตเข้ามาในมหาวิทยาลัย

            มีเหตุผลและปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้หลายๆคนเชื่อว่าการนำเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตเข้ามาใช้ในระบบ
การศึกษาแทบจะเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้  เหตุผลหลักสำคัญอันหนึ่ง คือความจำเป็นทางเศรษฐกิจ  Prowse
(1995) ได้ชี้ให้เห็นถึงค่าใช้จ่ายของการศึกษาที่สูงมากขึ้นเรื่อยๆ  ค่าใช้จ่ายของหน่วยกิตในมหาวิทยาลัยใน
สหรัฐอเมริกาได้เพิ่มขึ้น 174% ภายใน 10 ปี  มากกว่าอัตราขยายตัวของ consumer price ถึง 3 เท่า  van
Vught (1997) กล่าวว่าค่าใช้จ่ายในการเข้าเรียนมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกาได้เพิ่มจาก 9% ของรายได้ครัว
เรือน (median family income) ในปี 1979 ไปเป็น 15% ในปี 1994  หากเป็นมหาวิทยาลัยเอกชน ค่าใช้จ่ายจะ
เพิ่มมากยิ่งขึ้น (20% ในปี 1979  และ 40% ในปี 1994) การเพิ่มของค่าใช้จ่ายด้านการศึกษานี้เกิดขึ้นทั้งในยุ
โรปและในกลุ่มประเทศด้อยพัฒนาด้วย  การที่จะลดค่าใช้จ่ายลง จำเป็นต้องนำเทคโนโลยีใหม่ๆเข้ามาใช้    โดย
van Vught (1997) ได้ชี้เปรียบเทียบให้เห็นว่า ค่าใช้จ่ายต่อหัวของการเรียนในมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกานั้น
สูงถึง US$12,500 ส่วนในอังกฤษสูงถึง US$10,000  แต่ค่าใช้จ่ายต่อหัวของการเรียนในแบบ distant learning
(คำนวณจาก 11 มหาวิทยาลัยใน China, France, India, Indonesia, Iran, Korea, South Africa, Spain,
Thailand, Turkey and the UK) นั้นไม่ถึง US$350  เขาจึงเชื่อว่า การนำเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตมาใช้ในการ
สอนแบบ distant learning จะเป็นรูปแบบของมหาวิทยาลัยในอนาคต  เพราะรูปแบบมหาวิทยาลัยแบบที่เป็น
อยู่ไม่เหมาะสมกับพื้นฐานทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน  เพราะมีแต่จะทำให้ค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาเพิ่มมากขึ้น
เรื่อยๆ ในขณะที่การสนับสนุนจากภาครัฐและเอกชนจะเริ่มลดลง
            อีกปัจจัยหนึ่งเป็นเรื่องของการเติบโตอย่างรวดเร็วของศาสตร์แต่ละศาสตร์ Noam (1995) ได้ยกตัว
อย่างวารสารวิชาการ Chemical Abstracts ซึ่งต้องใช้เวลาถึง 31 ปีเพื่อตีพิมพ์บทคัดย่องานวิจัยออกมา 1 ล้าน
ชิ้น  และใช้เวลาอีก 18 ปีต่อมาสำหรับตีพิมพ์บทคัดย่ออีก 1 ล้านชิ้น  แต่ปัจจุบันในใช้เวลาไม่ถึง 2 ปีก็สามารถตี
พิมพ์บทคัดย่อออกมาได้กว่า 1 ล้านชิ้น  ความเติบโตนี้เองที่ทำให้มีการแตกแขนงของสาขาวิชาต่างๆมากมาย
ทำให้มหาวิทยาลัยไม่ afford ที่จะมีผู้เชี่ยวชาญในทุกๆสาขา  แม้แต่ในภาควิชาเดียวกัน ก็ยังมีการแยกย่อย
สาขาจนแทบหาผู้เชี่ยวชาญในสาขาเดียวกันเพื่อที่จะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันภายในมหาวิทยาลัยได้ยาก
การใช้ อินเตอร์เน็ตช่วยแก้ไขปัญหานี้เพราะทำให้เกิด virtual community ของผู้ที่มีความสนใจร่วมกันแต่อยู่ห่าง
ไกลกันได้  ทำให้สามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้   นอกจากนี้ในเรื่องของ การสะสมสิ่งตีพิมพ์ก็เป็นไปได้
ยากที่มหาวิทยาลัยจะทำให้ได้ครอบคลุมสมบูรณ์แบบเหมือนเดิม  เพราะค่าใช้จ่ายที่สูงมากขึ้นเรื่อยๆ   โดย
Noam ยกตัวอย่างของวารสาร Chemical Abstracts ซึ่งค่าสมาชิกรายปี ได้เพิ่มจาก $12 ในปี 1940 เป็น
$3,700 ในปี 1977 และเป็น $17,400 ในปี 1995  ในปัจจุบัน  จึงมีแนวโน้มที่จะลดค่าใช้จ่ายด้านนี้   เริ่มมีการ
จัดพิมพ์วารสาร online  หรือเปิดให้บริการเป็นสมาชิกวารสารผ่านทางอินเตอร์เน็ตมากขึ้น
            นอกจากปัจจัยทางเศรษฐกิจแล้ว  ปัจจัยทางสังคมก็เป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้การนำเทคโนโลยี
อินเตอร์เน็ตเข้ามาในมหาวิทยาลัยเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยาก  การเติบโตและการเป็นที่ยอมรับของอุตสาหกรรม
คอมพิวเตอร์   และการแพร่หลายของการใช้อินเตอร์เน็ต ทำให้เกิดการคาดหวังจากสังคมว่า มหาวิทยาลัยจำ
เป็นต้องมีเทคโนโลยีด้านนี้พร้อมเพื่อรองรับความต้องการของนิสิต ขณะเดียวกันก็เป็นการสร้างภาพว่า
มหาวิทยาลัยได้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่เกิดขึ้น
 

3. ผลกระทบของอินเตอร์เน็ตต่อระบบการศึกษา

            แม้ว่าผู้คนจะยอมรับอินเตอร์เน็ตว่ามีประโยชน์ต่อการทำวิจัยเพราะช่วยในการค้นหาข้อมูลต่างๆ ได้
สะดวกรวดเร็ว  แต่ก็มีผู้ที่มองว่าอินเตอร์เน็ตจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมากต่อระบบการศึกษาใน
ปัจจุบัน  ทั้งนี้เพราะอินเตอร์เน็ตทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านการควบคุมความรู้ (knowledge) หรือข่าวสาร
(information) ซึ่งจะส่งผลให้รูปแบบสถาบันการศึกษาอ่อนแอลงและเปลี่ยนแปลงไปในที่สุด   Noam (1995) ได้
ชี้เปรียบเทียบให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของ information flow ที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์  โดยกล่าวว่า ในยุค
แรก นักบวชจะเป็นผู้ครอบครองและถ่ายทอด information โดยการท่องจำ  ต่อมาเมื่อมีระบบการเขียน จึงมีการ
จัดเก็บข้อมูล มีห้องสมุดขึ้น เช่น Great Library of Alexandria  ซึ่งมีการจัดระบบข้อมูลความรู้และกระบวนการ
หาความรู้คล้ายๆกับการมีภาควิชาต่างๆในปัจจุบัน  ลักษณะแบบนี้เป็นการรวมศูนย์ความรู้ไว้ที่หนึ่ง  ผู้สนใจจะ
ต้องเดินทางเข้ามาเพื่อรับการถ่ายทอดความรู้นั้นจากผู้ที่ได้รับการยอมรับว่าทรงคุณวุฒิ  รูปแบบการศึกษาแบบ
นี้คงอยู่มาเป็นเวลา 2500 ปี  แต่ปัจจุบันทิศทางของ information flow กำลังเปลี่ยนไป  ผู้เรียนไม่จำเป็นต้องเข้า
มาหาความรู้  แต่สามารถใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อเรียกดูข้อมูลความรู้ให้มาหาตนได้  เมื่อเป็นดังนี้ มหาวิทยาลัยซึ่งมี
หน้าที่หลักสองอย่างคือ  เป็น authority ในการ transfer information และเป็นแหล่งรวบรวม information  ก็จะ
ค่อยๆสูญเสียความสำคัญของบทบาททั้งสองลงในที่สุด
            Noam (1995) ยังกล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นนี้  แตกต่างจากเมื่อคราวที่เริ่มมีสื่อวิทยุโทร
ทัศน์  ซึ่งในตอนนั้นหลายคนเชื่อกันว่าสื่อวิทยุโทรทัศน์จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านการศึกษาอย่างมาก
แต่ท้ายที่สุดก็ไม่ได้เป็นไปเช่นที่ทำนาย  จึงมีผู้วิจารณ์ว่าสื่ออินเตอร์เน็ตก็จะเป็นเช่นเดียวกัน  แต่ Noam แย้งว่า
สื่ออินเตอร์เน็ตมีลักษณะที่ต่างไป  เพราะการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้เป็นการเปลี่ยนของ information flow ใน
ขณะที่การนำสื่อวิทยุโทรทัศน์มาใช้ไม่ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่จุดนี้  นอกจากนี้สื่อวิทยุโทรทัศน์ยังเป็นสื่อ
ที่ถูกควบคุมด้วยคนจำนวนน้อยซึ่งเป็นชนชั้นนำในสังคมได้ง่าย  ในขณะที่สื่ออินเตอร์เน็ตเป็นสื่อที่เสรีและไม่
สามารถถูกควบคุมด้วยคนจำนวนน้อยได้   Baldino (1996) มองว่า การควบคุม information มีความสำคัญต่อ
กลุ่มชนที่เป็นชนชั้นนำในสังคม   ประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา  แสดงให้เห็นว่าชนชั้นนำดำรงบทบาทตัวเองอยู่ได้โดย
อาศัยการควบคุม information คือกำหนดว่าใครควรจะรู้ และควรจะรู้อะไร  ผ่านสถาบันการศึกษาซึ่งทำหน้าที่
สืบทอดอุดมการณ์ต่างๆ (ideological values) ของชนชั้นนำ สถาบันการศึกษาจึงมีบทบาทเพื่อสนับสนุนโครง
สร้างของสังคม โดยการ   "make sure that whoever has access to knowledge only knows what we want
them to know, and make sure that they think just like we want them to think"  จึงไม่แปลกอย่างไรที่สื่อ
วิทยุโทรทัศน์เมื่อถูกนำเข้ามาในสังคมจึงถูกควบคุมโดยชนชั้นนำเพื่อสืบทอดอุดมการณ์เดิมไว้  ทั้งนี้เพราะสื่อ
วิทยุโทรทัศน์มีธรรมชาติที่เป็นการกระจายเสียงและภาพจากสถานีแม่ข่าย  จึงถูกควบคุมได้ง่ายกว่า  ต่างจาก
สื่ออินเตอร์เน็ตซึ่งใครก็สามารถทำหน้าที่ให้ข้อมูลก็ได้ขอเพียงมีแค่คอมพิวเตอร์ส่วนตัวสักเครื่อง ก็สามารถสร้าง
web site เพื่อให้ข้อมูลหรือแสดงความคิดเห็นในเรื่องต่างๆได้
            นอกจากความคิดที่ว่า สื่ออินเตอร์เน็ตจะลดบทบาทความสำคัญของสถาบันการศึกษา  ผลกระทบที่
เห็นได้ชัดกว่า คือ การเปลี่ยนแปลงด้านรูปแบบการเรียนการสอน  ทั้งนี้เพราะสื่ออินเตอร์เน็ตจะทำให้เรื่องของ
สถานที่และเวลาลดความสำคัญลง เพราะผู้เรียนไม่จำเป็นต้องมารวมกันในห้องเรียน  ไม่จำเป็นต้องมาเรียนใน
ชั่วโมงเดียวกัน  แต่สามารถเข้าเรียนจากที่ไหนก็ได้ที่มีอินเตอร์เน็ต access จะเข้าเรียนเวลาใดก็ได้ตามสะดวก
นอกจากนี้ ผู้เรียนยังสามารถเปรียบเทียบรายวิชาที่ตัวเองเรียนกับรายวิชาที่เปิดสอนในที่อื่นๆได้ด้วย  บทบาท
ของอาจารย์จึงไม่ใช่ผู้ที่รู้ดีที่สุดในชั้นเรียนอีกต่อไป  นักเรียนสามารถเข้าถึงข้อมูลความรู้จากแหล่งอื่นและนำมา
เปรียบเทียบได้   ในบริบทใหม่นี้  อาจารย์จึงเปลี่ยนบทบาทจากการเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้โดยตรงในแบบเดิมมา
เป็นพี่เลี้ยงในการเรียนรู้ของผู้เรียนมากกว่า   ผู้เรียนจะเป็นผู้ที่แสวงหาความรู้ด้วยตัวเองเป็นหลักโดยอาศัยคำ
แนะนำจากอาจารย์   รูปแบบการเรียนการสอนจึงเปลี่ยนจากการบรรยายความรู้มาเป็น problem solving
oriented และเป็น team-based
 

4. ประโยชน์ของอินเตอร์เน็ตต่อการศึกษา

            อีกกลุ่มเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงจะไม่ส่งผลกระทบในทางลบขนาดนั้น  แต่กลับมองว่าเป็นโอกาสอันดีที่
จะใช้ประโยชน์จากอินเตอร์เน็ตเพื่อขยายขอบเขตของมหาวิทยาลัยสู่กลุ่มคนที่ใหญ่ขึ้นได้ van Vught (1997)
เชื่อว่า information technology จะเข้ามาช่วยให้การเรียนการสอนได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น  แต่จะไม่สามารถ
เข้ามาแทนที่การมีโรงเรียนและมหาวิทยาลัยได้   โรงเรียนและมหาวิทยาลัยจะยังคงมีอยู่ในระบบการศึกษาแต่ก็
ยอมรับกันว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก  จากเดิมที่เป็นห้องเรียนมีผนังล้อมรอบก็จะเป็น school without
wall  และเปลี่ยนจากการเรียนการสอนแบบบรรยายในชั้นเรียนมาเป็นแนวการเรียนการสอนแบบกระตุ้นให้เรียน
และค้นคว้าเป็นทีม (stimulate team-based learning)
            ประโยชน์ที่ชัดเจนที่สุดของอินเตอร์เน็ตต่อการศึกษา คือการเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้การค้นหาข่าวสาร
ข้อมูลต่างๆเป็นไปได้อย่างสะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น  ปัจจุบัน มี web site ต่างๆเกิดขึ้นมากมาย  แต่ละ web
site ก็ให้ข้อมูลข่าวสารในเรื่องต่างๆ  รูปแบบระบบห้องสมุดก็มีแนวโน้มว่าจะเปลี่ยนเป็น digital library ที่มี
หนังสือในเรื่องต่างๆเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ให้อ่านและค้นคว้าได้ online   การใช้ email ช่วยให้การติดต่อข่าวสาร
ระหว่างนักวิชาการเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว  ไม่ล่าช้าเหมือนแต่ก่อน  ช่วยให้การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่าง
นักวิชาการในสาขาเดียวกันทั่วโลกเป็นไปได้   การเรียนแบบ online ยังช่วยให้นักเรียนสามารถเรียนได้ตามขีด
ความสามารถของตนเอง  ใครมีความสามารถมากก็เรียนได้เร็วกว่า  นักเรียนที่ไม่กล้าแสดงความคิดเห็นในห้อง
ก็สามารถแสดงความคิดเห็นได้มากขึ้นผ่านการใช้ email หรือ discussion group
 

5. บทวิเคราะห์

            ดังที่ได้กล่าวไว้ในตอนต้นว่าการศึกษาในแบบปัจจุบัน มีปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายที่สูงมากขึ้นเรื่อยๆ จึงจำ
เป็นที่จะนำเทคโนโลยีมาช่วย เช่น อัดวีดีโอเทปการบรรยายของอาจารย์ชื่อดังแล้วเปิดให้นิสิตนักศึกษาดูผ่าน
ทางอินเตอร์เน็ต หรือจัดการสอนผ่าน online conference  ข้อดีของการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ไม่ได้อยู่ที่
ว่าทำให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่เป็นเพราะว่าจะทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากกว่าเพราะ
สามารถเข้าถึงผู้รับสารได้จำนวนมากกว่า  ปัญหาเรื่องการขาดเงินสนับสนุนจากรัฐและแหล่งทุนเอกชน ก็จะ
เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้มหาวิทยาลัยต้องมีการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว  ถ้าเช่นนั้นแล้ว อนาคตการเรียนการสอน
ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทยจะเปลี่ยนไปเป็นแบบ distance learning เป็นหลักหรือไม่  ในความจริงแล้ว
ในปัจจุบัน ประเทศไทยเองก็มีมหาวิทยาลัยเปิดที่สอนแบบ distance learning อยู่ เช่น มหาวิทยาลัยสุโขทัย
ธรรมาธิราช  แต่การที่มหาวิทยาลัยปิดอื่นๆก็ยังคงบทบาทสำคัญอยู่ได้นั้นเป็นเพราะสังคมให้คุณค่ากับการเข้า
มาศึกษาจนได้ปริญญาจากมหาวิทยาลัยปิดเหล่านี้   จริงอยู่ที่ว่าอินเตอร์เน็ตทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้าน
flow of information  แต่ในความเป็นจริง  นิสิตนักศึกษาส่วนใหญ่ไม่ได้เข้ามาเรียนโดยมีจุดมุ่งหมายหลักเพื่อ
แสวงหาความรู้แต่เข้ามาเพราะมหาวิทยาลัยปิดเป็นช่องทางสำหรับการมีใบปริญญาที่สังคมภายนอกให้การ
ยอมรับมากกว่ามหาวิทยาลัยเปิด  บทบาทของมหาวิทยาลัยปิดในประเทศไทยจึงยังไม่สั่นคลอนจากเหตุผลของ
การเปลี่ยนแปลง flow of information นี้จนกว่าแนวโน้มค่านิยมด้านการศึกษาของสังคมจะเปลี่ยนไป เช่น เมื่อ
สังคมเริ่มให้การยอมรับว่าผู้ที่ได้ certificate จากบริษัทหรือหน่วยงานบางแห่งที่ไม่ใช่มหาวิทยาลัยว่ามีคุณภาพ
เทียบได้กับผู้ที่ผ่านเข้ามหาวิทยาลัยปิด   ความจริง  certificate ที่ได้จากการอบรมของบางบริษัทโดยเฉพาะที่
เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีเฉพาะด้าน เช่น บริษัท Microsoft  ก็เริ่มเป็นที่ยอมรับของตลาด   แต่ก็ยังจำกัดในวง
จำกัดจึงยังไม่ส่งผลต่อระบบมหาวิทยาลัย  แต่ถึงกระนั้น  การใช้อินเตอร์เน็ตในระบบการศึกษาเป็นปรากฎ
การณ์ที่เกิดขึ้นทั่วโลก  ถึงมหาวิทยาลัยปิดของไทยจะไม่ได้รับผลกระทบจากมหาวิทยาลัยที่สอนแบบ distance
learning ภายในประเทศ  แต่ก็มีความเป็นไปได้สูงที่จะได้รับผลกระทบจากมหาวิทยาลัยต่างประเทศที่เปิดสอน
แบบ distance learning  ทั้งนี้เพราะสังคมไทยให้การยอมรับผู้ที่ได้รับปริญญาบัตรจากมหาวิทยาลัยต่าง
ประเทศค่อนข้างมาก  และมหาวิทยาลัยต่างประเทศเองก็แสวงหารายได้จากการศึกษามาก  ดังเช่นที่ van der
Wende (1997) ได้ชี้ว่ารายได้จากนักศึกษาต่างชาติเป็นรายได้สำคัญของมหาวิทยาลัยในออสเตรเลีย อังกฤษ
และสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะออสเตรเลียที่ได้ตั้งเป้าหมายที่จะขยายส่วนแบ่งตลาด 3.3% ในปี 1994 เป็น 7.5%
ในปี 2010   ดังนั้น จึงเป็นไปได้สูง ที่รูปแบบการศึกษา distance learning จะเข้ามาสู่ประเทศไทยโดย
มหาวิทยาลัยจากต่างประเทศ  และได้รับการยอมรับจากสังคมโดยเฉพาะในการศึกษาระดับปริญญาโทและเอก
ซึ่งมหาวิทยาลัยปิดในประเทศไทยยังไม่มีรากฐานที่มั่นคงเหมือนในระดับปริญญาตรี  ซึ่งสังเกตุได้จากค่านิยม
ในการเลือกไปศึกษาต่อต่างประเทศระดับปริญญาโทเอกมากกว่าจะศึกษาต่อภายในประเทศ ถ้าปัจจัยด้าน
เศรษฐกิจมีพร้อม
            ในส่วนของมหาวิทยาลัยไทย  ถึงแม้จะมีการนำสื่ออินเตอร์เน็ตเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา  แต่ยังไม่
เห็นแผนที่ชัดเจนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา  มีลักษณะเป็นเหมือนการนำเข้าตามกระแสเทคโนโลยี  และ
ให้ต่างคนต่างใช้เองตามต้องการ   และยังไม่มีการใช้ประโยชน์เพื่อการศึกษาโดยตรง เช่น  ยังไม่พบว่ามีการจัด
สอนหรือจัดเตรียมสื่อการสอนผ่านทางอินเตอร์เน็ตมากนัก    การใช้งานส่วนมากเป็นไปเพื่อการติดต่อพูดคุย
ส่วนตัวมากกว่าแบบอื่น   ในแง่ความพร้อมอย่างเต็มที่ในการนำมาประยุกต์เพื่อการเรียนการสอน  ยังเป็นที่น่า
สงสัยว่ามีความพร้อมแค่ไหน   เครือข่าย network ยังไม่มีประสิทธิภาพเป็นที่พอใจของผู้ใช้  ผู้ใช้มักประสบ
ปัญหาเครื่องในมหาวิทยาลัยไม่พอใช้  หรือไม่สามารถติดต่อจากที่บ้านได้  หากมีรายวิชาต่างๆหันมาใช้สื่อ
อินเตอร์เน็ตเพื่อการสอนมากขึ้น  ก็คงต้องประสบกับปัญหาอย่างแน่นอน   และในส่วนทัศนคติต่อการใช้สื่อ
อินเตอร์เน็ต  เชื่อว่าส่วนใหญ่ยังมองในแง่ดี คือมองในแง่ของประโยชน์ที่จะได้มากกว่า  แต่ก็ยังติดกับค่านิยม
เดิมของการเรียนการสอนคือยังมองการใช้สื่ออินเตอร์เน็ตเป็นส่วนประกอบของระบบการศึกษา  ดังนั้นการปรับ
เปลี่ยนระบบการศึกษาเป็นการเรียนการสอนผ่านสื่ออินเตอร์เน็ตอย่างเต็มรูปแบบคงไม่เกิดหรือเริ่มต้นที่สถาบัน
การศึกษาไทย  แต่ดังที่กล่าวมาแล้ว  สิ่งนี้หากจะเกิดขึ้น ก็คงเกิดจากการนำเข้าของสถาบันการศึกษาต่าง
ประเทศ  เพราะการใช้สื่ออินเตอร์เน็ตเป็นวิธีการที่เหมาะสมที่มหาวิทยาลัยต่างประเทศจะใช้ขยายฐานลูกค้า
ของตน
 
บรรณานุกรม
1. Baldino, Eduardo N. (1997) Considerations on the impact of theอินเตอร์เน็ตon education
http://haas.berkeley.edu/~baldino/ba212/index.html
2. Noam,Eli M. (1995). Electronics and the Dim Future of the University. In  Science Volume 270
(October, 1995) pp. 247-249.
3. Prowse, Michael. (1995). ENDANGERED SPECIES in America, 20 November 1995 Financial
Times.
4. van Vught, F.A. (1997) Information Technology: The Next Step in the Development of Academic
Institutions Presented at the 12 May 1997 NUFFIC Seminar on:  Virtual Mobility: New
Technologies and Internationalisation
5. van der Wende, Marijk. (1997) Virtual Mobility: New Technologies and Internationalisation.  In
Ninth Annual Conference of the European Association for International Education Boundaries
and Bridges in International Education, 20-22 November 1997, Barcelona, Spain.
http://pioneer.chula.ac.th/~awirote/ling/internetedu.htm
 

'อินเทอร์เน็ต' เพื่อการศึกษา อาหารสมอง ของนักเรียนชนบท


'อินเทอร์เน็ต' เพื่อการศึกษา อาหารสมอง ของนักเรียนชนบท
เทคโนโลยีสารสนเทศ ได้กลายเป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่ง ต่อการพัฒนาองค์กร และสังคมในทุกๆ ส่วน อย่างที่ไม่อาจจะปฏิเสธได้ นับวันเทคโนโลยีดังกล่าว ก็ยิ่งขยับเข้ามา ใกล้ตัวเรามากขึ้นทุกขณะ
การพัฒนาทางการศึกษาในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ทั้งในรูปแบบและขอบเขตของการศึกษาภายใต้การปฏิรูปทางการศึกษาตามเจตนารมณ์ของ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ปี พ.ศ.2542 และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทสำคัญเป็นอย่างมากในการพัฒนาการศึกษาที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง 'อินเทอร์เน็ต' ที่ช่วยขยายแหล่งความรู้นั้นให้กระจายไปยังเยาวชนนักเรียนนักศึกษา โดยสามารถเข้าไปค้นคว้าด้วยตัวเองอย่างไร้ขีดจำกัด และขยายโอกาสการเรียนรู้ให้กระจายไปยังกลุ่มนักเรียนที่อยู่ในภูมิภาคห่างไกลด้วย
มาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ระบุว่า การศึกษาหมายถึง
กระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคม โดยการถ่ายทอดความรู้ การฝึกอบรม การสืบสานทางวัฒนธรรม การสร้างจรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการ การสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากการจัดสภาพแวดล้อมสังคม การเรียนรู้ และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่างผสานระหว่างการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อให้สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
อินเทอร์เน็ตจึงเป็นขุมความรู้ปริมาณมหาศาล และเป็นเครื่องมือสื่อสารสืบค้นที่สะดวกรวดเร็วและไร้พรมแดน สามารถเอื้อให้เกิดการเรียนรู้จากทุกที่ไม่จำกัดแค่เพียงในห้องเรียน หรือในเวลาเรียนเท่านั้น จึงเป็นการส่งเสริมให้เกิดการศึกษาทั้งในและนอกระบบ และตามอัธยาศัย
ที่สำคัญยังเปิดกว้างสำหรับทุกคนที่ต้องการศึกษาหาความรู้ ไม่ว่าจะอยู่ในวัยใดก็ตาม ซึ่งเป็นการสนับสนุนให้เกิดการศึกษาพัฒนาความรู้ตลอดชีวิตสอดคล้องกับพระราชบัญญัติ
อินเทอร์เน็ตเพื่อการศึกษา นับได้ว่าเป็นเครื่องมือที่สำคัญอย่างยิ่งในการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาระหว่างกลุ่มคนในสังคม และเป็นการเพิ่มพูนการเรียนรู้ของบรรดานักเรียนที่เตรียมพร้อมที่จะก้าวไปสู่การเป็นบุคลากรที่เปี่ยมด้วยความรู้ความสามารถ เพื่อเป็นการผลักดันประเทศไทยให้เข้าสู่สังคมแห่งปัญญาและความรู้ (Knowledge based Society) ในอนาคตข้างหน้า
สำหรับประเทศไทย การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของประชาชน ยังปรากฏความไม่เสมอภาคค่อนข้างชัด อาจจะสืบเนื่องมาจากข้อจำกัดทางทุนทรัพย์ ปัญหาทางด้านการสื่อสาร หรือโทรคมนาคมพื้นฐาน การขาดความรู้ความเข้าใจ หรือไม่เล็งเห็นประโยชน์ซึ่งหากปัญหาความไม่เสมอภาคในเรื่องนี้ ยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างทันท่วงที ช่องว่างของโอกาสการเรียนรู้ของคนไทย และนักเรียนจะกว้างเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางด้านศึกษาเพิ่มมากยิ่งขึ้น
โครงการเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทย (School Net) ซึ่งริเริ่มและดำเนินการโดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ด้วยความร่วมมือจากกระทรวงศึกษาธิการ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อต้องการที่ลดความไม่เสมอภาคดังกล่าว โดยการให้บริการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแก่โรงเรียนหลายแห่งทั่วประเทศ เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลแก่อาจารย์และนักเรียน เพื่อให้เทคโนโลยีถูกใช้เพื่อการพัฒนาการศึกษา ซึ่งจะเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการพัฒนาด้านอื่นๆ ต่อไป
เกษม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ประธานคณะกรรมการประสานงานการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการศึกษา กล่าวถึงนโยบายการจัดการจัดงาน มหกรรมอินเตอร์เน็ตเพื่อการศึกษาในโรงเรียน (School Net Day) ขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมประชาสัมพันธ์ให้ครูอาจารย์ จากโรงเรียนต่างๆ ทั่วประเทศ โดยเฉพาะนักเรียนนักศึกษา ได้เห็นถึงประโยชน์ของการนำอินเทอร์เน็ตมาใช้ในการศึกษา และปรับปรุงคุณภาพการศึกษา รวมทั้งเป็นเวทีแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็น และประสบการณ์ทางด้านวิชาการซึ่งกันและกัน เพื่อเป็นการเปิดโลกทัศน์ใหม่แห่งเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาและพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาของไทย
นอกจากนี้ ยังเป็นการสร้างความทั่วถึงและเท่าเทียมทางด้านการศึกษาให้เกิดขึ้นในสังคมไทย และเป็นการยกระดับการศึกษาของเด็กไทยให้ทัดเทียมกับนานาประเทศ อีกทั้งยังเป็นโครงการที่สนับสนุนการปฏิรูปการศึกษาไทยตามแนวพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ที่มุ่งเน้นให้เด็กเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ (Child Center) โดยมีครูอาจารย์คอยให้คำแนะนำ และสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life Long Learning) เป็นการพัฒนาบุคลากรไทยให้เป็นบุคคลที่มีความสามารถและศักยภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจไทยให้เจริญก้าวหน้าต่อไปในอนาคต
พิชชาภรณ์ อุโพธิ์ นักเรียนจากโรงเรียนสาธิตสถาบันราชภัฏสงขลา เจ้าของรางวัลชนะเลิศ ระดับประเทศ การประกวดเรียงความของนักเรียนในระดับประถมศึกษา ในหัวข้อ 'คอมพิวเตอร์กับสังคมในสายตาของฉัน' ได้กล่าวแสดงทัศนคติถึงอินเทอร์เน็ตกับนักเรียนไทยในอนาคต ว่า อินเทอร์เน็ตเป็นสิ่งที่มีประโยชน์มากในการรับรู้ข่าวสาร การติดต่อ การสื่อสาร การศึกษา สิ่งเหล่านี้คือประโยชน์ของคอมพิวเตอร์ และอินเทอร์เน็ต
แต่ถ้าในเวลาที่เท่ากันเรากลับทำในสิ่งที่ไม่มีประโยชน์ เช่น การหาความบันเทิงจากอินเทอร์เน็ตมากเกินไป หรือดูรูปลามกอนาจาร นั่นคือ โทษจากการใช้อินเทอร์เน็ตที่ผิดวัตถุประสงค์ ส่วนผลที่ได้รับ ถ้าในระยะเวลาที่เท่ากันเราใช้อินเทอร์เน็ตในการค้นหาข้อมูลเพื่อการศึกษา หรือเรียนรู้เรื่องราวต่างๆ ที่มีประโยชน์ กับเรื่องที่ไร้สาระ ลองคิดดูว่า อย่างไหนจะคุ้มค่ามากกว่ากัน
เนรมิต น้อยสำลี นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดสงขลา กล่าวว่า หากโครงการดังกล่าวนี้สามารถดำเนินการให้กับโรงเรียนทั่วประเทศได้อย่างทั่วถึง คงจะเป็นการยกระดับการศึกษาของนักเรียนไปอีกก้าวหนึ่ง ซึ่งปกติที่โรงเรียนก็มีอยู่แล้ว แต่เพราะจำนวนที่น้อยเกินไม่เพียงพอต่อนักเรียน เพื่อนบางคนยังไม่กล้าคลิกเมาส์เลยด้วยซ้ำไป เพราะกลัวว่าจะพัง แล้วจะไม่มีใช้
บางคนยังไม่รู้ด้วยซ้ำไปว่าคำว่า 'เวบไซต์' หมายถึงอะไร หากโครงการดังกล่าวสามารถขยายไปสู่โรงเรียนต่างๆ โดยเฉพาะในชนบทได้ ก็จะเป็นการเปิดหน้าใหม่ให้กับการศึกษาไทยได้เลยทีเดียว
ว่าที่ร้อยตรี วัชรินทร์ วรรณตุง ผู้ช่วยฝ่ายวิชาการ โรงเรียนนวมินทราชูทิศ ทักษิณ ซึ่งมีส่วนผลักดันการศึกษาให้ควบคู่กับเทคโนโลยีทางสารสนเทศ โดยเฉพาะด้านอินเทอร์เน็ต จนสามารถคว้ารางวัล 'โรงเรียนดีเด่นด้านการส่งเสริมกิจกรรมทางอินเตอร์เน็ต'
ทางโรงเรียนได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของ กลุ่ม SouthernNet ซึ่งมีกิจกรรมทางด้านวิชาการผ่านระบบอินเทอร์เน็ต จึงทำให้นักเรียนในโรงเรียนมีโอกาสเรียนรู้คอมพิวเตอร์เบื้องต้น ก่อนที่จะสามารถใช้คอมพิวเตอร์เป็นแหล่งข้อมูลค้นคว้าต่อไปในอนาคต
และทันทีที่มีโครงการ (School Net) ทางโรงเรียนก็ได้เข้าร่วมโครงการ เพื่อจะเป็นการเพิ่มข้อมูลและฐานการศึกษาทางด้านอินเทอร์เน็ตแก่นักเรียนในโรงเรียนมากยิ่งขึ้น โดยมุ่งเน้นให้นักเรียนในโรงเรียนมีส่วนร่วมและใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการศึกษา โดยจัดกิจกรรมทางด้านวิชาการและสร้างเครือข่ายห้องสมุด Digital Library โดยให้นักเรียน และคณาจารย์เป็นผู้ดูแล เพื่อจะเป็นแนวทางในการศึกษาทางด้านอินเทอร์เน็ตเพิ่มมากยิ่งขึ้นในอนาคตด้วย
หากโครงการนี้สามารถดำเนินได้รวดเร็ว และครบร้อยเปอร์เซ็นต์ทุกโรงเรียนทั่วประเทศเมื่อไหร่ เมื่อนั้นเราก็อาจจะสามารถบอกลาการศึกษาของเด็กไทยแบบเก่าที่เรียนแบบท่องจำ หรือเรียนแบบนกแก้วนกขุนทองเสียที
อ้างอิง : ไพศาล รัตนะ

ความสำคัญของอินเตอร์เน็ต

ความสำคัญของอินเทอร์เน็ต
          ในปัจจุบันอินเทอร์เน็ตมีบทบาทและมีความสำคัญต่อชีวิตประจำวันของคนเราเป็นอย่างมาก  เพราะทำให้วิถีชีวิตเราทันสมัยและทันเหตุการณ์อยู่เสมอ  เนื่องจากอินเทอร์เน็ตจะมีการเสนอข้อมูลข่าวปัจจุบัน  และสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นให้ผู้ใช้ทราบเปลี่ยนแปลงไปทุกวัน  สารสนเทศที่เสนอในอินเทอร์เน็ตจะมีมากมายหลายรูปแบบเพื่อสนองความสนใจและความต้องการของผู้ใช้ทุกกลุ่ม  อินเทอร์เน็ตจึงเป็นแหล่งสารสนเทศสำคัญสำหรับทุกคนเพราะสามารถค้นหาสิ่งที่ตนสนใจได้ในทันทีโดยไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปค้นคว้าในห้องสมุด  หรือแม้แต่การรับรู้ข่าวสารทั่วโลกก็สามารถอ่านได้ในอินเทอร์เน็ตจากเว็บไซต์ต่าง ๆ ของหนังสือพิมพ์
          ดังนั้นอินเทอร์เน็ตจึงมีความสำคัญกับวิถีชีวิตของคนเราในปัจจุบันเป็นอย่างมากในทุก ๆ ด้าน  ไม่ว่าจะเป็นบุคคลที่อยู่ในวงการธุรกิจ  การศึกษา  ต่างก็ได้รับประโยชน์จากอินเทอร์เน็ตด้วยกันทั้งนั้น
          1.  ด้านการศึกษา  อินเทอร์เน็ตมีความสำคัญ  ดังนี้
                    1.  สามารถใช้เป็นแหล่งค้นคว้าหาข้อมูล  ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลทางวิชาการ  ข้อมูลด้านการบันเทิง  ด้านการแพทย์  และอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
                    2.  ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต  จะทำหน้าที่เปรียบเสมือนเป็นห้องสมุดขนาดใหญ่
                    3.  นักเรียนนักศึกษาสามารถใช้อินเทอร์เน็ตติดต่อกับมหาวิทยาลัยหรือโรงเรียนอื่น ๆ เพื่อค้นหาข้อมูลที่กำลังศึกษาอยู่ได้  ทั้งที่ข้อมูลที่เป็นข้อความเสียง  ภาพเคลื่อนไหวต่าง ๆ
          2.  ด้านธุรกิจและการพาณิชย์  อินเทอร์เน็ตมีความสำคัญดังนี้
                    1.  ค้นหาข้อมูลต่าง ๆ เพื่อช่วยในการตัดสินใจทางธุรกิจ
                    2.  สามารถซื้อขายสินค้า  ทำธุรกรรมผ่านระบบเครือข่าย
                    3.  เป็นช่องทางในการประชาสัมพันธ์  โฆษณาสินค้า  ติดต่อสื่อสารทางธุรกิจ
                    4.  ผู้ใช้ที่เป็นบริษัท    หรือองค์กรต่าง ๆ ก็สามารถเปิดให้บริการ  และสนับสนุนลูกค้าของตนผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้  เช่น  การให้คำแนะนำ  สอบถามปัญหาต่าง ๆ ให้แก่ลูกค้า  แจกจ่ายตัวโปรแกรมทดลองใช้ (Shareware)  โปรแกรมแจกฟรี (Freeware)
          3.  ด้านการบันเทิง  อินเทอร์เน็ตมีความสำคัญดังนี้
                    1.  การพักผ่อนหย่อนใจ  สันทนาการ  เช่น  การค้นหาวารสารต่าง ๆ ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต  ที่เรียกว่า  Magazine Online  รวมทั้งหนังสือพิมพ์และข่าวสารอื่น ๆ โดยมีภาพประกอบที่จอคอมพิวเตอร์เหมือนกับวารสารตามร้านหนังสือทั่ว ๆ ไป
                    2.  สามารถฟังวิทยุหรือดูรายการโทรทัศน์ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้
                    3.  สามารถดึงข้อมูล  (Download)  ภาพยนตร์มาดูได้
                                               
ที่มาและได้รับอนุญาตจาก :
บุญลักษณ์  เอี่ยมสำอางค์  เกื้อกมล  พฤกษประมูล และโสภิต  พิทักษ์. ภาษาไทย  หลักการใช้ภาษาและการใช้ภาษา ม.4. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์.
http://www.trueplookpanya.com/true/knowledge_detail.php?mul_content_id=3056

อินเตอร์เน็ตในประเทศไทย

ประเทศไทยได้เริ่มติดต่อกับอินเทอร์เน็ตในปี พ.ศ. 2530 ในลักษณะการใช้บริการ จดหมายเล็กทรอนิกส์แบบแลกเปลี่ยนถุงเมล์เป็นครั้งแรก โดยเริ่มที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ (Prince of Songkla University) และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียหรือสถาบันเอไอที (AIT) ภายใต้โครงการความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและออสเตรเลีย (โครงการ IDP) ซึ่งเป็นการติดต่อเชื่อมโยงโดยสายโทรศัพท์ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2531 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ได้ยื่นขอที่อยู่อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย โดยได้รับที่อยู่อินเทอร์เน็ต Sritrang.psu.th ซึ่งนับเป็นที่อยู่อินเทอร์เน็ตแห่งแรกของประเทศไทย ต่อมาปี พ.ศ. 2534 บริษัท DEC (Thailand) จำกัดได้ขอที่อยู่อินเทอร์เน็ตเพื่อใช้ประโยชน์ภายในของบริษัท โดยได้รับที่อยู่อินเทอร์เน็ตเป็น dect.co.th โดยที่คำ “th” เป็นส่วนที่เรียกว่า โดเมน (Domain) ซึ่งเป็นส่วนที่แสดงโซนของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย โดยย่อมาจากคำว่า Thailand
กล่าวได้ว่าการใช้งานอินเทอร์เน็ตชนิดเต็มรูปแบบตลอด 24 ชั่วโมง ในประเทศไทยเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อเดือน กรกฎาคม ปี พ.ศ. 2535 โดยสถาบันวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 9600 บิตต่อวินาที จากการสื่อสารแห่งประเทศไทยเพื่อเชื่อมเข้าสู่อินเทอร์เน็ตที่บริษัท ยูยูเน็ตเทคโนโลยี (UUNET Technologies) ประเทศสหรัฐอเมริกา
ในปีเดียวกัน ได้มีหน่วยงานที่เชื่อมต่อแบบออนไลน์กับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตผ่านจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หลายแห่งด้วยกัน ได้แก่ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) มหาวิทยาลัยมหิดล สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญบริหารธุรกิจ โดยเรียกเครือข่ายนี้ว่าเครือข่าย “ไทยเน็ต” (THAInet) ซึ่งนับเป็นเครือข่ายที่มี “ เกตเวย์ “ (Gateway) หรือประตูสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นแห่งแรกของประเทศไทย (ปัจจุบันเครือข่ายไทยเน็ตประกอบด้วยสถาบันการศึกษา 4 แห่งเท่านั้น ส่วนใหญ่ย้ายการเชื่อมโยงอินเทอร์เน็ตโดยผ่านเนคเทค (NECTEC) หรือศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ)
ปี พ.ศ.  2535 เช่นกัน เป็นปีเริ่มต้นของการจัดตั้งกลุ่มจดหมายอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการศึกษาและวิจัยโดยมีชื่อว่า "เอ็นดับเบิลยูจี" (NWG : NECTEC E-mail Working Group) โดยการดูแลของเนคเทค และได้จัดตั้งเครือข่ายชื่อว่า "ไทยสาร" (ThaiSarn : Thai Social/Scientific Academic and Research Network) เพื่อการติดต่อสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างกัน โดยเริ่มแรกประกอบด้วยสถาบันการศึกษา 8 แห่ง ปัจจุบันเครือข่ายไทยสารเชื่อมโยงกับสถาบันต่างๆ กว่า 30 แห่ง ทั้งสถาบันการศึกษาและหน่วยงานของรัฐ
ปัจจุบันได้มีผู้รู้จักและใช้อินเทอร์เน็ตมากขึ้น มีอัตราการเติบโตมากกว่า 100 % สมาชิกของอินเทอร์เน็ตขยายจากอาจารย์และนิสิตนักศึกษาในระดับอุดมศึกษาไปสู่ประชาชนทั่วไป
http://tc.mengrai.ac.th/paisan/e-learning/internet/page23.htm

ประวัติอินเตอร์เน็ต

ปี พ.ศ. 2500 (1957) โซเวียดได้ปล่อยดาวเทียม Sputnik ทำให้สหรัฐอเมริกาได้ตระหนักถึงปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น ดังนั้น ค..ศ. 2512 (1969) กองทัพสหรัฐต้องเผชิญหน้ากับความเสี่ยงทางการทหาร และความเป็นไปได้ในการถูกโจมตี ด้วยอาวุธปรมาณู หรือนิวเคลียร์ การถูกทำลายล้าง ศูนย์คอมพิวเตอร์ และระบบการสื่อสารข้อมูล อาจทำให้เกิดปัญหาทางการรบ และในยุคนี้ ระบบคอมพิวเตอร์ ที่มีหลากหลายมากมายหลายแบบ ทำให้ไม่สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร และโปรแกรมกันได้ จึงมีแนวความคิด ในการวิจัยระบบที่สามารถ เชื่อมโยงเครื่องคอมพิวเตอร์ และแลกเปลี่ยนข้อมูล ระหว่างระบบที่แตกต่างกันได้ ตลอดจนสามารถรับส่งข้อมูลระหว่างกัน ได้อย่างไม่ผิดพลาด แม้ว่าคอมพิวเตอร์บางเครื่อง หรือสายรับส่งสัญญาณ เสียดายหรือถูกทำลาย กระทรวงกลาโหมอเมริกัน (DoD = Department of Defense) ได้ให้ทุนที่มีชื่อว่า DARPA (Defense Advanced Research Project Agency) ภายใต้การควบคุมของ Dr. J.C.R. Licklider ได้ทำการทดลอง ระบบเครือข่ายที่มีชื่อว่า DARPA Network และต่อมาได้กลายสภาพเป็น ARPANet (Advanced Research Projects Agency Network) และต่อได้มาพัฒนาเป็น INTERNET ในที่สุด
          การเริ่มต้นของเครือข่ายนี้ เริ่มในเดือน ธันวาคม 2512 (1969) จำนวน 4 มหาวิทยาลัย ได้แก่           - มหาวิทยาลัยยูทาห์
          - มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ซานตาบาบารา
          - มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ลอสแองเจลิส
          - สถาบันวิจัยของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด

          และขยายต่อไปเรื่อยๆ เป็น 50 จุดในปี พ.ศ. 2515 จนเป็นหลายล้านแห่งทั่วโลกทีเดียว 
          งานหลักของเครือข่ายนี้ คือ การค้นคว้าและวิจัยทางทหาร ซึ่งอาศัยมาตรฐานการรับส่งข้อมูลเดียวกัน ที่เรียกว่า Network Control Protocol (NCP) ทำหน้าที่ควบคุมการรับส่งข้อมูล การตรวจสอบความผิดพลาดในการส่งข้อมูล และตัวกลางที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องเข้าด้วยกัน และมาตรฐานนี้ก็มีจุดอ่อนในการขยายระบบ จนต้องมีการพัฒนามาตรฐานใหม่
         
พ.ศ. 2525 ได้มีมาตรฐานใหม่ออกมา คือ Transmission Control Protocol/Internet Protocol (TCP/IP) อันเป็นก้าวสำคัญของอินเทอร์เน็ต เนื่องจากมาตรฐานนี้ทำให้คอมพิวเตอร์ต่างชนิดกัน สามารถรับส่งข้อมูลไปมาระหว่างกันได้ เปรียบเสมือนเป็นหัวใจของอินเทอร์เน็ตเลยก็ว่าได้ 

จากระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ที่มีอยู่ในยุคนั้น ไม่สามารถตอบสนองการสื่อสารได้ บริษัทเบลล์ (Bell) ได้ให้ทุนการศึกษาแก่ ห้องทดลองที่มีชื่อเสียงที่สุดแห่งหนึ่ง ในสมัยต่อมา คือ Bell's Lab ให้ทดลองสร้าง ระบบปฏิบัติการแห่งอนาคต (ของคนในยุคนั้น) เดนนิส ริสซี และ เคเน็ต ทอมสัน ได้ออกแบบ และพัฒนาระบบที่มีชื่อว่า UNIX ขึ้น และแพร่หลายอย่างรวดเร็ว พร้อมๆ กับการแพร่หลายของระบบ Internet เนื่องจากความสามารถ ในการสื่อสารของ UNIX และมีการนำ TCP/IP มาเป็นส่วนหนึ่งของระบบปฏิบัติการนี้ด้วย
         
พ.ศ. 2529 มูลนิธิวิทยาลัยศาสตร์แห่งชาติ สหรัฐอเมริกา (National Science Foundation - NSF) ได้วางระบบเครือข่ายขึ้นมาอีกระบบหนึ่ง เรียกว่า NSFNet ซึ่งประกอบด้วยซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ 5 เครื่องใน 5 รัฐ เชื่อมต่อเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา และค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ และมีการใช้มาตรฐาน TCP/IP เป็นมาตรฐานหลักในการรับส่งข้อมูล ส่งผลให้การใช้งานเครือข่ายเป็นไปอย่างรวดเร็ว 

         
NSFNETหลังจากนั้นก็มีเครือข่ายอื่นๆ เกิดขึ้นมาเช่น UUNET, UUCP, BitNet, CSNet เป็นต้น และต่อมาได้เชื่อมต่อกัน โดยมี NSFNet เป็นเครือข่ายหลัก ซึ่งเปรียบเสมือนกระดูกสันหลังของเครือข่าย (Backbone)
         
ในปี พ.ศ. 2530 เครือข่าย ARPANET ได้รวมกับ NSFNET และลดบทบาทตัวเองลงมา เปลี่ยนไปใช้บทบาทของ NSFNet แทน และเลิกระบบ ARPANET ในปีพ.ศ. 2534
         
ในปัจจุบัน Internet เป็นการต่อโยงทางตรรกะ (Logic) ของระบบคอมพิวเตอร์นับล้าน ๆ เครื่อง และโยงกับระบบ Wide Area Network (WAN) ต่างๆ เช่น MILNET, NSFNET, CSNET, BITNET หรือแม้แต่ เครือข่ายทางธุรกิจ เช่น IBMNET, Compuserve Net และอื่น ๆ ภายใต้โปรโตคอล ที่มีชื่อว่า TCP/IP โดยที่ขนาดของเครือข่าย ครอบคลุมไปทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย และมีการขยายขอบเขตออกไป อย่างไม่หยุดยั้ง
          สำหรับประเทศไทย เริ่มเชื่อมโยงเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตตั้งแต่ปี พ.ศ.2532 โดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ต่อเชื่อมโยงเพื่อส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์กับประเทศออสเตรเลีย ซึ่งทำให้ระบบไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์เชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตเป็นครั้งแรก และในระยะเวลาเดียวกันนี้กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม โดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอกนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติได้มีโครงการที่จะเชื่อมโยงเครื่อข่ายคอมพิวเตอร์ระหว่างมหาวิทยาลัยขึ้น เครื่อข่ายคอมพิวเตอร์ระหว่างมหาวิทยาลัยในประเทศไทยก็ค่อย ๆ พัฒนาขึ้น

         
ระบบ Internet เป็นการนำเครือข่ายขนาดใหญ่ที่สุดของโลก ที่มีการต่อเสมือนกับ ใยแมงมุม หรือ World Wide Web หรือเรียกย่อๆ ว่า WWW (มีการบัญญัติศัพท์ว่า เครือข่ายใยพิภพ) ในระบบนี้เราสามารถเปรียบเทียบ Internet ได้ สองลักษณะคือ ลักษณะทางกายภาพ และทางตรรกะ ในทางกายภาพ (Physical) นั้น Internet เป็นเครือข่ายที่รับอิทธิพลจาก เครือข่ายโทรศัพท์โดยตรง ในสหรัฐอเมริกา บริษัทที่เป็นผู้ให้บริการ Internet ก็เป็นบริษัทที่ทำธุรกิจ ทางโทรศัพท์ เช่น MCI, AT&T, BELL เป็นต้น และอีกลักษณะหนึ่ง ที่เป็นความเด่นของระบบ คือลักษณะทางตรรกะ หรือ LOGICAL CONNECTION ที่เป็นเสมือนใยแมงมุม ครอบคลุมโลกไว้
 
         

http://blog.eduzones.com/banny/3735